วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2563

การสำรวจปลวก

 การสำรวจปลวก เชียงใหม่


ทำไมต้องสำรวจ-ตรวจเช็คปลวกเป็นประจำ?


เพราะประเทศไทยมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ซึ่งเอื้อให้ปลวกเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้ดี คุณมักจะเจอร่องรอยของปลวกหรือเห็นแมลงเม่าบินบริเวณบ้าน แต่คุณไม่อาจรู้ว่ารังปลวกอยู่ที่ไหนและปลวกกำลังกินส่วนใดของบ้านอยู่ จนกว่าคุณจะพบความเสียหายจากพวกมัน


หากคุณกำลังเจอปลวกขึ้นบ้าน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการสำรวจปลวกเพื่อ


ดูโครงสร้างบ้าน พื้นที่ที่ปลวกระบาด เพื่อจัดเตรียมแนวทางในการป้องกันและกำจัดปลวกต่อไป


ประเมินระดับการระบาดของปลวก เพื่อให้มั่นใจว่าต้องใช้สารเคมีจำนวนเท่าไหร่ และวิธีการใดเหมาะสมที่สุด


ตรวจสอบสายพันธุ์ปลวก เนื่องจากปลวกแต่ละสายพันธุ์จะใช้วิธีกำจัดแตกต่างกัน


เพื่อทราบถึงความเสี่ยง หรือข้อกังวลของลูกค้า เช่น ในบ้านมีเด็กเล็ก มีสัตว์เลี้ยง หรือบ่อปลา เราจะให้คำแนะนำในการป้องกันและหลีกเลี่ยง เพื่อปกป้องลูกค้าของเราอย่างดีที่สุด

กําจัดปลวกด้วยตัวเอง อย่างได้ผลดี

 กําจัดปลวกด้วยตัวเอง อย่างได้ผลดี เชียงใหม่


เราจะต้องหาและกำจัดรังปลวกที่อยู่ใต้ดิน ที่เป็นที่อยู่ของนางพญาปลวก การกำจัดปลวกด้วยการฉีดหรือวางเหยื่อล่อตามส่วนต่างของบนบ้านเป็นการกำจัดเฉพาะในส่วนที่เรามองเห็นหรือค้นพบเท่านั้น ซึ่งอาจจะจำเป็นต้องทำควบคู่กับการอัดน้ำยากำจัดปลวกลงในดินด้วยมิฉะนั้นปลวกก็จะกลับมาอีกในไม่ช้า โดยน้ำยากำจัดปลวกก็หาซื้อได้ตามร้านวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างทั่วๆไป

วิธีป้องกันปลวกแบบง่ายๆและได้ผลเยี่ยม


1.กระดาษลูกฟูก หรือ พวกกล่องลังกระดาษ ,ซันเจี๋ย แบบเจล วิธีทำ ตัดกระดาษลูกฟูก ขนาด2×2 นิ้ว หรือขนาดที่สามารถเข้าไปในรูทางเดินของปลวก จำนวน 2แผ่น เสร็จแล้ว ทาเจลลงบนแผ่นลูกฟูกละเลงทั่วๆแล้วประกบกัน นำไปวางตรงอุโมงทางเดินปลวกที่ผ่านทาง รอดูผล1 – 2 อาทิตย์ ก็น่าจะเรียบร้อยเพราะปลวดจะทำกระดาษที่เรานำไปเป็นเหยื่อหล่อกลับไปที่รังและไปแบ่งกันกืนและจะค่อยๆตายไปเองรวมถึงตัวนางพญาคคะ


2.จ้างบริษัทกำจัดปลวก แต่ก็ต้องตรวจสอบด้วยว่าบริษัทที่เราจะจ้างผ่านมาตราฐานหรือไม่ เช่นมีเอกสารรับรองหรือไม่น้ำยาที่จะใช้ยี่ห้ออะไร ศึกษากรรมวิธีว่าจะมีการเจาะรูพื้นอัดน้ำยาอย่างไร ดูวัสดุที่จะมาปิดรูเจาะอัดน้ำยาว่ามีหลากหลายรูปแบบที่จะมาพรางตาได้ดีกับวัสดุพื้นบ้านเราครบถ้วนหรือไม่ และ มีบริการหลังการขาย มาตรวจเช็ดถี่ขนาดไหน ? และรับประกันยาวนานเท่าไหร่ เป็นต้น


สุดท้ายนี้ ในยุคปัจจุบันการก่อสร้างบ้านใหม่ๆจึงจะต้องใส่ใจเรื่องนี้ให้มากขึ้น ต้องมีการเริ่มมีการวางท่อสำหรับฉีดน้ำยาป้องกัน & กำจัดปลวกไว้ใต้พื้นบ้านหรืออาคารไว้แต่แรก เพราะจะทำให้สะดวกรวดเร็วและไม่ต้องมาเจาะพื้นภายในตัวบ้าน เพราะนั่นอาจจะเป็นสาเหตุให้บ้านเราเกิดเสียความเสียหายในภายหลัง และการที่เราวางท่อสำหรับฉีดน้ำยาสำหรับกำจัดปลวก ยังทำให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์ในระยะยาวอีกด้วย และพบกันใหม่ครั้งหน้าค่ะ

11 วิธีกำจัดปลวกจอมแทะในบ้านให้สิ้นซาก

 11 วิธีกำจัดปลวกจอมแทะในบ้านให้สิ้นซาก เชียงใหม่


วิธีกำจัดปลวกที่แอบซ่อนอยู่ในบ้านให้ตายยกรังไม่ใช่เรื่องยาก และวิธีกำจัดปลวกก็ไม่จำเป็นต้องจ้างบริษัทกำจัดปลวกเสมอไป เพราะการกำจัดปลวกให้หมดไปจากบ้านทำด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ



วิธีกำจัดปลวก


ปลวกในที่นี้ไม่ได้เป็นคำแซวใครนะจ๊ะ แต่เป็นน้องปลวกตัวจิ๋วที่ทรงพลังมากพอจะพังบ้านไม้ได้เป็นหลัง ๆ เลยทีเดียว และใครก็ตามที่เพิ่งค้นเจอรังปลวกอยู่ในบ้านก็ต้องรู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ กันเป็นแถวแน่นอน เพราะถ้าขืนปล่อยปลวกให้แทะไม้ในบ้านเราได้อย่างสบายอารมณ์ ไม่วันใดก็วันหนึ่งบ้านคงพังทลายลงในไม่ช้า ฉะนั้นเราก็มาทำตามวิธีกำจัดปลวกในบ้านอย่างง่าย ๆ ตามนี้กันเถอะ


1. เช็กสภาพไม้ก่อน


หากสังเกตเห็นว่าไม้เป็นรูคล้ายโดนปลวกแทะ หรือเห็นซากไม้เป็นผงเกลื่อนพื้นตรงบริเวณที่ไม้เป็นจุด นั่นอาจจะแปลได้ว่า ตอนนี้รังปลวกได้บุกมาแทะไม้บ้านคุณแล้วจริง ๆ ทว่าถึงอย่างนั้นเราก็ต้องเช็กว่าเป็นปลวกตัวจริงเสียงจริงแน่หรือเปล่า โดยการเคาะดูก่อนก็ได้ หากได้ยินเสียงก้องหรือรู้สึกถึงความโหรงเหรงภายใต้พื้นไม้ อาจจะฟันธงไปได้เลยว่าเจอปลวกแน่แล้ว ทว่าหากยังไม่แน่ใจสามารถใช้สว่านเจาะเข้าไปตรงบริเวณที่เป็นรูก็ได้ หากเศษไม้หลุดออกมาเป็นแผ่นอย่างง่ายดายก็แปลว่าใช่เลย เตรียมกำจัดปลวกได้แล้วจ้า


2. รู้จักชนิดของปลวก


เราสามารถแบ่งแยกประเภทของปลวกในบ้านออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ซึ่งก็คือ ปลวกใต้ดินกับปลวกไม้แห้ง โดยปลวกทั้ง 2 ชนิดนี้จะมีลักษณะการทำลายไม้่ที่ต่างกัน หากเป็นปลวกใต้ดินจะแทะไม้จากด้านในออกมาด้านนอก สร้างความเสียหายกับไม้เกือบทั้งหมด ส่วนปลวกไม้แห้งจะแทะกินเฉพาะเนื้อไม้ด้านใน โดยเว้นเนื้อไม้ด้านนอกไว้บาง ๆ ทำให้เหมือนไม้ไม่ได้ถูกทำลายไปสักนิดเดียว ดังนั้นแม้จะเห็นสภาพไม้ภายนอกดูไม่เป็นร่องเป็นรูก็อย่าไปไว้ใจเชียว


3. สร้างกับดักล่อปลวก


ขั้นแรกให้หาไม้กระดานแผ่นเรียบขนาดใหญ่พอประมาณ พรมน้ำให้ชื้น ๆ แล้วไปติดไว้ใกล้จุดที่ปลวกแอบซุ่มอยู่ ทิ้งไว้สักพัก (หรืออาจจะต้องใช้เวลาสักหน่อย) เหยื่ออันโอชะที่เราติดไว้จะถูกปลวกรุมแทะอย่างเอร็ดอร่อย จากนั้นให้คุณรีบนำแผ่นไม้ไปเผาทิ้งทันที วิธีกำจัดปลวกอย่างนี้จะช่วยลดจำนวนปลวกในบ้านไปได้เยอะพอสมควร แต่ก็ยังไม่ถือว่าเป็นการกำจัดปลวกอย่างสิ้นซากนะคะ


วิธีกำจัดปลวก


4. เลี้ยงไส้เดือนฝอย


ไส้เดือนฝอยจะช่วยกำจัดปลวกใต้ดินให้เราได้เป็นอย่างดี ฉะนั้นคุณควรหาซื้อไส้ดินฝอยมาเลี้ยงไว้ในสวนบ้าง เพื่อให้ไส้เดือนฝอยช่วยจับปลวกมาเป็นอาหาร ลดประชากรปลวกในบ้านไปได้เยอะเลยทีเดียว


5. กําจัดปลวกด้วยวิธีธรรมชาติ


หากต้องการกําจัดปลวกด้วยวิธีธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมี ก็สามารถทำได้โดย...


- กำจัดปลวกด้วยสมุนไพร

ขั้นแรกให้นำข่า ตะไคร้ และกระเทียมในปริมาณเท่า ๆ กัน (รวมแล้วประมาณ 2 กิโลกรัม) มาสับให้ละเอียด จากนั้นก็ผสมเหล้าขาว 1 ขวด น้ำส้มสายชู 1 ขวด และน้ำเปล่า 20 ลิตร ลงไป ปิดฝาให้สนิท แล้วปล่อยทิ้งไว้สัก 1 สัปดาห์ เท่านี้ก็จะได้น้ำยากำจัดปลวกแบบธรรมชาติง่าย ๆ แล้วค่ะ



- กำจัดปลวกด้วยใบขี้เหล็ก

ต้องบอกเลยว่าประสิทธิภาพการกำจัดปลวกของใบขี้เหล็กนั้นดีเยี่ยม เพียงแค่นำใบขี้เหล็กประมาณ 5 กรัม มาบด ตำ หรือปั่นให้ละเอียด จากนั้นก็ใส่น้ำลงไปประมาณ 20 มิลลิลิตร เสร็จแล้วก็กรองเอาน้ำใส่ในขวดสเปรย์ เสร็จแล้วนำไปฉีดตามบริเวณที่ปลวกอยู่ โดยทำซ้ำประมาณ 3-5 วัน




- น้ำส้มสายชูกำจัดปลวก

เรียกได้ว่าน้ำส้มสายชูเป็นของใช้ในบ้านที่มีประโยชน์มากจริง ๆ เพราะนอกจากจะช่วยปรุงอาหารหรือทำความสะอาดได้แล้ว ยังสามารถใช้ในการกำจัดปลวกได้ด้วย โดยให้เทน้ำส้มสายชูลงไปในถ้วยตวงประมาณครึ่งถ้วย แล้วบีบมะนาวตามประมาณ 2 ซีก จากนั้นก็หยดน้ำมันหอมระเหยส้มลงไปอีกสักนิดหน่อย โดยให้ระมัดระวังในการใช้น้ำมันหอมระเหยส้มมาก ๆ เพราะสามารถระคายเคืองต่อผิวได้ พอเสร็จแล้วก็เทใส่ขวดสเปรย์ พร้อมใช้กำจัดปลวกได้เลย




- ใช้เกลือกำจัดปลวก

อีกหนึ่งวิธีการกำจัดปลวกแบบธรรมชาติ แถมง่ายสุด ๆ ก็คือการผสมน้ำอุ่นกับเกลือเข้าด้วยกันในปริมาณครึ่งต่อครึ่ง จากนั้นก็คนจนเกลือละลายเข้ากับน้ำ เทใส่ในขวดสเปรย์ จากนั้นก็ทำไปฉีดพ่นบริเวณที่มีปลวกอยู่ เมื่อปลวกกินน้ำเกลือเข้าไป ก็จะเกิดภาวะขาดน้ำและค่อย ๆ ตายในที่สุด




6. กำจัดปลวกด้วยแดดแรง

ปลวกเก่งเฉพาะในที่มืดเท่านั้นล่ะค่ะ พอเจอแดดแรง ๆ เข้าหน่อยก็สิ้นชีพกันแล้ว ดังนั้นหากเฟอร์นิเจอร์ของคุณโดนปลวกบุกรุกจนเกือบแย่ ให้รีบนำเฟอร์นิเจอร์ไม้ชิ้นนั้นมาตากแดดจัด ๆ ประมาณ 2-3 วัน เพื่อกำจัดปลวกให้หมดไป




7. เปิดฮีทเตอร์กำจัดปลวก

ฮีทเตอร์อาจเป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีความจำเป็นกับบ้านเราเลย แต่กลับมีประโยชน์กับการกำจัดปลวกสุด ๆ เพราะปลวกเองก็กลัวความร้อนอยู่เหมือนกัน ดังนั้นในจุดที่ไม่สามารถยกไปตากแแดดได้ก็จัดการเปิดฮีทเตอร์เผาปลวกซะเลย




8. ลดความชื้นในบ้าน

เมื่อไม้เจอกับความชื้นก็เข้าทางปลวกอย่างจัง ไม่เชื่อลองสังเกตตรงบริเวณที่มักมีปัญหาปลวกดูก็ได้ค่ะว่า ส่วนนั้นมีความชื้นค่อนข้างสูงด้วยกันทั้งนั้น อย่างนี้ก็แสดงว่าหากเราสามารถลลดความชื้นภายในบ้านได้ ก็เท่ากับช่วยป้องกันบ้านจากปลวกได้อีกทาง โดยการลดความชื้นที่ว่านี้อาจจะติดตั้งพัดลมดูดอากาศ หมั่นเปิดหน้าต่างระบายอากาศ เปิดม่านให้แสงแดดส่องถึง และติดตั้งเครื่องดูดความชื้นในกรณีที่บ้านคุณมีความชื้นค่อนข้างสูง หรืออยู่ในจุดที่ค่อนข้างอับ




9. ฉีดยาฆ่าปลวก

หากปลวกเพิ่งจะมาทำรังในบ้านคุณในวงแคบ ๆ อาจกำจัดไปได้ง่าย ๆ ด้วยการใช้ยาฉีดปลวกที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไปกำจัดปลวกซะ ทั้งนี้ก่อนฉีกควรเปิดหน้าต่างให้โล่ง จัดพื้นที่ให้มีอากาศถ่ายเท และสวมหน้ากากและถุงมือเพื่อความปลอดภัยด้วยทุกครั้ง


- 9 ยากำจัดปลวก ฆ่าศัตรูตัวร้ายให้ตายยกรัง


10. อุดรูปลวก

ตามผนังกำแพงหรือจุดไหนในบ้านที่เป็นรอยแยก เกิดความชำรุดเสียหายให้รีบซ่อมแซมโดยด่วน โดยอาจจะฉาบปูนเข้าไปใหม่หรือยาแนวให้แน่นหนา เพราะไม่เพียงแต่ร่องรอยแยกเหล่านี้จะเป็นช่องทางของปลวกเท่านั้น แต่มด แมลงสาบ และแมลงชนิดอื่น ๆ อาจใช่ช่องทางเดียวกันนี้เข้ามาบุกรุกบ้านคุณก็ได้




11. พึ่งบริษัทกำจัดปลวก

ในกรณีที่รู้ตัวอีกทีก็เจอปัญหาปลวกลามไปเกือบทั้งบ้านแล้ว การกำจัดปลวกอาจเกินกำลังเราไปนิด ดังนั้นควรยกหน้าที่นี้ให้กับบริษัทกำจัดปลวกมืออาชีพ ซึ่งเขาจะมีวิธีและอุปกรณ์ในการซอกซอนไปกำจัดปลวกถึงรังให้สิ้นซากได้ดีกว่าเรา


ปัญหาปลวกไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ ดังนั้นหากคุณเจอปัญหาปลวกภายในบ้านก็อย่านิ่งดูดายนะคะ นำวิธีกำจัดปลวกเหล่านี้ไปใช้กันได้เลย หากใครที่กำลังมองหาวิธีป้องกันปลวกขึ้นบ้านอยู่ สามารถนำวิธีนี้ไปใช้ได้เลยนะคะ วิธีป้องกันปลวกบุกบ้านแบบไม่ใช้สารเคมี

7 จุดเสี่ยง! เลี่ยงปลวกกินบ้าน

 7 จุดเสี่ยง! เลี่ยงปลวกกินบ้าน เชียงใหม่

1.ภายนอก (Exterior)


หลังคา - กระเบื้องที่แตกร้าว ก่อให้เกิดความชื้นซึ่งดึงดูดปลวกให้เข้ามาในบ้านโดยง่าย


Tips: หากคุณพบปัญหาให้ซ่อมแซมกระเบื้องที่แตก หมั่นตรวจสอบความชื้นบริเวณช่องหลังคาและจัดการไล่ความชื้น


ท่อน้ำทิ้งแอร์ - ท่อน้ำทิ้งแอร์จะทำให้เกิดความชื้นซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดึงดูดปลวก


Tips: ทำให้แน่ใจว่าท่อน้ำทิ้งแอร์อยู่ไกลจากฐานรากของบ้าน และอย่าให้น้ำไหลกลับเข้าบ้าน


พื้นที่สวน ในสวน จุดเสี่ยงที่มักพบปลวกระบาด



2.ห้องใต้หลังคา (Attic)


ไม้คาน - เป็นแหล่งอาหารของปลวก


Tips: ตรวจเช็คการระบาดของปลวกเป็นประจำ


กล่องเก็บของ - กล่องกระดาษที่บรรจุเอกสารและภาพถ่ายเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของปลวก


Tips: ใช้กล่องพลาสติกทดแทน


3.ห้องนั่งเล่น (Living Room)


พื้นไม้ - เป็นแหล่งอาหารชั้นดีของปลวก หากพื้นบ้านนั้นสร้างติดกับพื้นดิน ปลวกใต้ดินก็สามารถเข้ามาได้โดยง่าย


Tips: เมื่อสร้างบ้านใหม่ ควรวางระบบท่อกำจัดปลวกหรือบำบัดดินระหว่างก่อสร้าง


ขอบบัว - เป็นแหล่งอาหารชั้นดีของปลวก ปลวกไม้แห้งจะชอบอาศัยอยู่บลรเวณนี้


Tips: หมั่นตรวจเช็คการระบาดของปลวกเป็นประจำ โดยใช้นิ้วโป้งกดไปตามขอบบัวว่านิ่มหรือมีการยวบลงไปหรือไม่


เฟอร์นิเจอร์ไม้ - ดึงดูดปลวกได้ดี เพราะเป็นแหล่งอาหารของปลวก


Tips: วางให้ห่างจากผนัง


ห้องนั่งเล่น จุดเสี่ยงที่มักพบปลวกระบาด


4.ห้องซักรีด (Laundry Room)


เสื้อผ้า - ปลวกกินอะไรก็ได้ที่มีเซลลูโลส เสื้อผ้าก็เช่นกัน


Tips: เก็บผ้าที่ซักรีดแล้วขึ้นจากพื้นและวางให้ห่างจากผนัง หรือติดตั้งเครื่องซักผ้าให้สูงจากพื้นและห่างจากผนัง


บริเวณซักล้าง ที่รีดผ้า จุดเสี่ยงที่มักพบปลวกระบาด


5.ห้องนอน (Bedroom)


เฟอร์นิเจอร์ไม้ - เป็นแหล่งอาหารชั้นดีของปลวก


Tips: เลือกเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากโลหะ จัดวางเฟอร์นิเจอร์ให้ห่างจากผนัง


ห้องนอน จุดเสี่ยงที่มักพบปลวกระบาด


6.โรงรถ (Garage)


ที่เก็บของ - แหล่งอาหารชั้นดีของปลวก


Tips: เก็บของให้ห่างจากผนัง ใช้ตู้เก็บของที่ทำจากโลหะแทนไม้


โรงรถ ที่จอดรถ จุดเสี่ยงที่มักพบปลวกระบาด


7.ห้องครัว (Kitchen)


หน้าต่างและประตู - หน้าต่างที่เปิดค้างไว้จะทำให้แมลงเม่าบินเข้ามาในบ้านได้


Tips: ตรวจเช็คให้แน่ใจว่าปิดประตูและหน้าต่างให้สนิทระหว่างช่วงฤดูปลวกระบาด


ท่อแตก/รั่วซึม - ท่อน้ำทิ้งที่แตกหรือรั่วซึมนั้นทำให้เกิดความชื้น ซึ่งดึงดูดปลวกได้ดี


Tips: ตรวจสอบท่อเป็นประจำ หากพบปัญหารีบซ่อมแซมโดยเร็วที่สุด


ตู้กับข้าว - ตู้ไม้แบบ Built in เป็นแหล่งอาหารของปลวกเพราะอยู่ติดพื้นและผนัง


Tips: ตรวจเช็คการระบาดของปลวกอย่างสม่ำเสมอ


ห้องครัว จุดเสี่ยงที่มักพบปลวกระบาด


8.ในสวน (Garden)


ตอไม้ - เป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของปลวกไม้แห้ง


Tips: กำจัดตอไม้ออกจากสวน


วัสดุคลุมดิน - วัสดุคลุมดินนั้นเก็บความชื้นได้ดีซึ่งปลวกชอบและยังเต็มไปด้วยเซลลูโลส (อาหารของปลวก) อีกด้วย


Tips: ใช้วัสดุคลุมดินที่ไม่ดึงดูดปลวก เว้นระยะห่างระหว่างวัสดุคลุมดินกับตัวบ้าน


เสารั้วที่สัมผัสดิน - ปลวกใต้ดินหาแหล่งอาหารผ่านโพรงใต้ดิน การปักรั้วให้สัมผัสกับดินนั้น เสมือนการหยิบยื่นอาหารให้ปลวกแบบฟรีๆ


Tips: ใช้รั้วไม้ที่ทนต่อปลวกหรือทาสารกันปลวกหรือใช้รั้วที่ทำจากโลหะแทน หากบริเวณบ้านของคุณเป็นบริเวณที่มีการระบาดของปลวกให้เลือกแต่งสวนโดยใช้วัสดุอื่นแทนรั้วไม้


กองไม้ - กองไม้เป็นแหล่งอาหารที่ดูดปลวกให้เข้ามาบริเวณบ้านและอาจเป็นสาเหตุให้ปลวกบุกรุกบ้านคุณในที่สุด


Tips: เก็บกองไม้ให้สูงจากพื้นและให้ห่างจากตัวบ้าน

กําจัดปลวกเชียงใหม่

กําจัดปลวกเชียงใหม่ กําจัดปลวกเชียงใหม่ ฉีดปลวกเชียงใหม่ กําจัดปลวกเชียงใหม่ ฉีดปลวกเชียงใหม่ เป็น บริษัทกําจัดปลวกเชียงใหม่ราคาถูก เน้นความ...