วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2563

5 วิธีป้องกันและกำจัดปลวกให้หมดสิ้นไปจากบ้าน

 5 วิธีป้องกันและกำจัดปลวกให้หมดสิ้นไปจากบ้าน เชียงใหม่



สะดุ้งกันทั้งซอย! ฝาบ้านไม้ถล่มกลางเมืองโคราช ฤทธิ์พี่ปลวกกินทั้งหลัง พาดหัวข่าวของมติชน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 ทำให้เห็นภาพทันทีว่า ศัตรูตัวฉกาจที่สามารถทำลายโครงสร้างบ้านทั้งหลังให้ทลายลงได้ บางครั้งไม่ใช่สิ่งใหญ่ๆ อย่างพายุทอร์นาร์โด หรือแผ่นดินไหวขนาด 7.5 ริกเตอร์ แต่อาจมาจากฝีมือของสิ่งมีชีวิตฤิทธิ์ร้ายตัวจิ๋วอย่าง “ปลวก” ที่ค่อยๆ กัดแทะบ้านกินไปเรื่อยๆ อย่างเงียบๆ เจ้าของบ้านรู้ตัวอีกทีบ้านผุมากจนแทบพังลงมาทั้งหลัง อีกทั้งปลวกกัดกินบ้านยังเป็นสาเหตุของปัญหาจุกจิกหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็น ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างผนังจนเกิดผนังรั่วซึมเวลาฝนตกหรือมีน้ำขัง ซึ่งบทความนี้ “HomeGuru” จะพาไปรู้จักปลวกอย่างเจาะลึก พร้อมกับมีวิธีป้องกันปลวกในระยะยาวครับ


รู้จักปลวก เพื่อจะได้ไม่ต้องพบกัน

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ไม่อยากมีปัญหากับปลวก สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ ทำความรู้จักกับปลวกก่อน เพื่อจะได้เข้าใจนิเวศวิทยา ต้นกำเนิด และจุดอ่อนที่ปลวกไม่ชอบ ปลวกบนโลกนี้มีหลายร้อยชนิด แต่ความเสียหายประมาณ 90% ในประเทศไทย เกิดจากปลวกใต้ดิน (Subterranean termites) ชนิดรุกรานสายพันธุ์ Coptotermes โดยมีการศึกษาพบว่า มูลค่าความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้างที่เกิดจากปลวกชนิดนี้สูงกว่า 280 ล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว ปลวกที่อาศัยอยู่ใต้พื้นดิน จะทำท่อทางเดินดินทะลุขึ้นมาตามรอยแยกหรือรอยเชื่อมต่อของบ้าน หากพบปลวกนี้อยู่ห่างออกไป 3 เมตร ก็ยังถือว่าเป็นระยะที่ไม่ปลอดภัย


ยกพื้นสูงป้องกันปลวกจากดิน

ปลวกส่วนใหญ่สร้างรังในดิน ชอบอาศัยในบริเวณที่มีความชื้น เงียบ และอับแสง ฉะนั้นวิธีการป้องกันบ้านตั้งแต่เริ่มแรกคือวางระบบป้องกันปลวกตั้งแต่ขั้นตอนทำฐานราก พร้อมกับออกแบบบ้านให้มีความโปร่งรับแสงสว่างได้ดี ขจัดมุมอับ มุมมืดต่าง ๆ ซึ่งมักเป็นที่อยู่อาศัยของปลวก


หากพื้นที่ดังกล่าวมีปัญหาความชื้นสูง แนะนำให้ยกพื้นบ้านสูงขึ้นจากระดับผิวดินไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร จะช่วยลดความชื้นใต้อาคารและสามารถสังเกตเส้นทางเดินของปลวกที่จะขึ้นสู่โครงสร้างอาคารได้ง่าย ทั้งยังสามารถวางระบบกำจัดปลวกใต้อาคารได้ในอนาคต ควรปูแผ่นพลาสติกรองเอาไว้ระหว่างพื้นดินและพื้นกระเบื้อง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ความชื้นจากผิวดินแทรกซึมเข้าสู่ตัวบ้านได้


สกัดเส้นทางทำมาหากินของปลวก

อย่าปล่อยให้ปลวกมีโอกาสเข้าถึงแหล่งอาหารในบ้านได้โดยเด็ดขาด ปลวกสามารถเดินทางเข้าสู่ตัวบ้านไปเจาะกินเซลลูโลสผ่านช่องว่างหรือรอยแตกเล็ก ๆ บนพื้นคอนกรีต ผนัง เสา คานไม้ คร่าวเพดาน คร่าวฝา วงกบประตู หน้าต่าง ดังนั้นจึงต้องหมั่นตรวจสอบรอบ ๆ และภายในบ้านไม่ให้มีร่องรอยแตกแยก เมื่อพบก็รีบทำการซ่อมแซม ยาแนว ฉาบปูนปิด และไม่ควรปลูกต้นไม้ใหญ่ชิดบ้านมากเกินไป เพราะปลวกจะใช้รากของต้นไม้เป็นอีกเส้นทางในการเดินทางมาสู่ตัวบ้านได้


ตัดเสบียงอาหาร ปลวกชอบอะไรตัดสิ่งนั้น

ปลวกก็เหมือนกับคน ต้องดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการกิน หากเราชอบสิ่งไหนเราก็จะทานได้มากและทานได้เรื่อย ๆ ดังนั้นการลดของชอบของปลวกก็เท่ากับตัดวงจรการทำลายบ้านไปด้วยในตัว ปลวกเป็นแมลงที่กิน ฮิวมัส (humus) คือ อินทรียวัตถุที่มีปะปนอยู่ในดิน, ใบไม้ เศษซากพืช และที่สำคัญคือ ต้องการเซลลูโลสเป็นอาหารหลัก ซึ่งจะมีอยู่เนื้อไม้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มีเซลลูโลสเป็นส่วนประกอบ เช่น กระดาษ ผ้าฝ้าย พรม เป็นต้น


การตัดเส้นทางอาหารทำได้โดย กำจัดกองไม้ เศษใบไม้ข้างบ้านออกให้หมด ปรับเปลี่ยนของตกแต่ง วัสดุหรือเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านเป็นวัสดุอื่นที่ปลวกไม่กิน เช่น จากวงกบหน้าต่าง ประตูไม้ เปลี่ยนเป็นอะลูมิเนียม พื้นไม้เปลี่ยนเป็นกระเบื้องหรือไวนิล บันไดและประตูไม้ เลือกใช้เป็นเหล็กหรือไม้เนื้อแข็งอย่างไม้แดง ไม้ประดู ไม้มะค่า หรือสักเก่า เป็นต้น ที่แนะนำให้ใช้เนื้อแข็งไม่ได้หมายความว่าปลวกไม่แทะกินเลย แต่ด้วยความแข็งของไม้ ปลวกจึงแทะกินได้ยาก อย่างไรก็ตามกรณีใช้ไม้ควรทาน้ำยากันปลวกก่อนเสมอ


เปิดรับแสงเคลื่อนไหวก่อกวนปลวก

โดยธรรมชาติปลวกเป็นสัตว์รักความสงบ ชอบที่มืดและที่ชื้น โดยเฉพาะปลวกทหารกับปลวกงานเป็นสัตว์ตาบอด จึงไม่มีความจำเป็นต้องพัฒนาความสามารถในการมองเห็น ภายในบ้านจึงต้องออกแบบให้มีช่องเปิดรับแสงอย่างเพียงพอ หมั่นเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท หรือติดตั้งพัดลมดูดอากาศ ขจัดซอกหลืบต่าง ๆ จะช่วยลดความอับชื้นในบ้าน และเป็นการรบกวนปลวกได้อย่างดี


หากสังเกตว่ามีเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใดที่มีร่องรอยปลวกขึ้นและสามารถยกเคลื่อนย้ายได้ ให้ยกออกไปตากแดดแรง ๆ ประมาณ 3-4 วัน ปลวกก็จะกระเจิงหนีไป


กำจัดปลวกอย่างมืออาชีพ

นอกจากวิธีป้องกันตามธรรมชาติที่กล่าวมาแล้ว ยังมีการป้องกันกำจัดโดยวิธีอัดสารป้องกันกำจัดปลวกโรยและฉีดพ่นโดยตรงลงไปในพื้นดินก่อนปลูกสร้างอาคาร เพื่อทำให้พื้นดินใต้อาคารเป็นพิษต่อปลวก ทำให้ปลวกไม่สามารถเจาะผ่านทะลุขึ้นมาได้

ระบบการใช้น้ำยาป้องกัน-กำจัดปลวก

ระบบการใช้น้ำยาป้องกัน-กำจัดปลวก เชียงใหม่

ระบบการใช้น้ำยาป้องกัน-กำจัดปลวก (Soil-Treatment & Piping System For Termite Control)


การป้องกันและกำจัดปลวกด้วยระบบอัดน้ำยานั้น เป็นวิธีสากลที่ใช้กันทั่วไป ซึ่งกรรมวิธี P. C. SOIL-TREATMENT ตามมาตราฐานขององค์การ HUD แห่งสหรัฐอเมริกา (HOUSIGN AND URBAN DEVELOPMENT AUTHORITY OF UNITED STATES OF AMERICA) คือ การใช้เครื่องฉีดแรงอัดสูง อัดหรือฉีดน้ำยาเคลือบพื้นดินบริเวณใต้ตัวอาคาร เพื่อให้พื้นดินส่วนนั้นเป็นพิษเกินกว่าที่ปลวกจะอาศัยอยู่ หรือแทรกซอนผ่านขึ้นมาทำลายตัวอาคารได้ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย และสัตว์เลี้ยงเป็นสำคัญ โดยบริษัทกำจัดปลวกและแมลงได้มีผสมผสานระบบต่างๆเข้าไป เพื่อให้การจำกัดปลวกมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ซึ่งประสิทธิภาพในกำจัดปลวกนั้น มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำจัดปลวก คือ


ปริมาณน้ำยาที่ใช้เพียงพอที่จะครอบคลุมพื้นที่ และ ระยะเวลาที่เหมาะสมหรือไม่


จุดการอัดน้ำยาครอบคลุมพื้นที่หรือไม่


อัตราส่วนการผสมน้ำยาถูกต้องตามมาตรฐานของแต่ละชนิดของน้ำยาที่ใช้หรือไม่


คุณภาพของน้ำยาที่ใช้น้ำยากำจัดปลวกที่มีคุณภาพ นอกจากจะมีประสิทธิภาพมากกว่าน้ำยาเกรดต่ำแล้ว ยังมีความปลอดภัยสูงอีกด้วย อีกทั้งยังคงสภาพได้นานกว่า


การใช้วิธีกำจัดเหมาะสมหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความรู้ความชำนาญของช่าง เพราะบางจุดเหมาะสมกับการสเปรย์ บางจุดเหมาะสมกับการแพร่ผงกำจัดปลวกเป็นต้น

ขั้นตอนการทำงานของระบบนี้ประกอบไปด้วย


หลังจากที่สำรวจและวางแผนการปฏิบัติงานแล้ว ช่างจะทำการสำรวจเส้นทางของปลวก หลังจากนั้นจะทำลายทางเดินปลวกทิ้ง เพราะหากมีรอยใหม่เกิดขึ้นหลังจากการกำจัดแล้ว แสดงว่ายังมีปัญหาปลวกอยู่


ช่างจะทำการสำรวจในบ้าน เพื่อแพร่ผงฟิโปรนิล (fipronil) ในจุดเสี่ยงต่างๆ เช่น รอยแตกร้าว วงกบ ประตู หน้าต่าง บันได ฝ้า เพดาน


หากในบ้านที่่ออัดน้ำยา ก็จะทำการอัดน้ำยาเข้าหัวอัด ซึ่งเมื่ออัดไปแล้ว ช่างจะทราบว่า ท่อนั้นมีการตันหรือชำรุดหรือไม่ หากท่อตัน ก็ต้องมีการเจาะรูอัดน้ำยาเพิ่ม เพื่อให้ครอบคลุมทุกพื้นที่


หากเป็นบ้านที่ไม่มีท่อกำจัดปลวก ช่างจะทำการกำหนดจุดเจาะพื้น เพื่ออัดน้ำยาลงไป หากพื้นเป็น กระเบื้อง, หินอ่อน ฯลฯ ก็ต้องใช้หัวเปิดกากเพรชก่อน เพื่อเปิดพื้นผิวดังกล่าว ซึ่งจะไม่ทำให้ กระเบื้อง หรือ หินอ่อน ไม่เกิดการแตกร้าว


การอัดน้ำยาในเสาหลอก และ ช่องชาร์ปเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเป็นบริเวณที่ปลวกใช้เป็นทางเดิน เข้ามาทำลายบ้านมากที่สุดจุดหนึ่ง


ภายนอกบ้าน จะใช้ก้านอัดน้ำยา (Soil Treatment) ลงไปในดินเช่นกัน ส่วนบริเวณสนาม ต้นไม้ จะใช้การสเปรย์น้ำยา (Spraying System)

บ้าน 1 ใน 4 หลังเจอปัญหาปลวกขึ้นบ้าน

 รู้หรือไม่? บ้าน 1 ใน 4 หลังเจอปัญหาปลวกขึ้นบ้าน เชียงใหม่

ปัญหาปลวกทำรังในบ้าน นอกจากจะทำให้คุณวุ่นวายใจแล้ว หากปล่อยทิ้งไว้ ไม่รีบกำจัดรังปลวกอย่างถูกวิธีก็ยิ่งทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมบ้านสูง เพราะปลวกงานนั้นหาอาหารตลาด 24 ชั่วโมง ไม่มีหยุดพัก


หากคุณพบสัญญาณปลวกขึ้นบ้าน การกำจัดปลวกด้วยตัวเองอาจไม่ใช่คำตอบ เพราะคุณจะต้องมีความรู้ในการลงมือทำ รวมถึงการเลือกสารเคมีกำจัดปลวกที่เหมาะสมกับปัญหาปลวกที่พบ ดังนั้น บริการกำจัดปลวกจากผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นตัวเลือกที่ดีในการจัดการปัญหา คุณสามารถนัดสำรวจปลวกได้ฟรี! จากผู้เชี่ยวชาญของเร็นโทคิล โดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆ ทั้งสิ้น


พนักงานของเราได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง มีทักษะและความชำนาญที่เป็นเลิศ รวมถึงการเลือกระบบกำจัดปลวกที่เหมาะสำหรับบ้านของคุณ ไม่ว่าจะเป็นการวางระบบท่อกำจัดปลวกก่อนก่อสร้าง ระบบอัดน้ำยาลงท่อ หรือระบบเหยื่อกำจัดปลวก รวมถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อปกป้องบ้านและครอบครัวของคุณ


สาระน่ารู้ : ปลวกสามารถกินกรอบประตูไม้ทั้งบานได้ ภายใน 2 สัปดาห์ !


วิธีป้องกัน-กำจัดปลวกที่นิยมในประเทศไทย


สำหรับระบบป้องกัน-กำจัดปลวกที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจุจุบัน สามารถแบ่งได้ 2 แบบหลัก ได้แก่


บริการป้องกัน-กำจัดปลวกหลังการก่อสร้าง


ระบบป้องกัน-กำจัดปลวกด้วยการเจาะพื้นอัดสารเคมีลงดิน/อัดน้ำยาลงท่อกำจัดปลวก (RTAM)


ระบบเหยื่อกำจัดปลวกแบบตายต่อเนื่องถึงรัง (RCEP


บริการป้องกัน-กำจัดปลวกก่อนการก่อสร้าง


ระบบป้องกัน-กำจัดปลวกโดยการวางท่อ (RTGS)


ระบบราดสารเคมีป้องกัน-กำจัดปลวกใต้ดิน (RST)


บริการป้องกัน-กำจัดปลวกหลังการก่อสร้าง


ระบบป้องกัน-กำจัดปลวกด้วยการเจาะพื้นอัดสารเคมีลงดิน/อัดน้ำยาลงท่อกำจัดปลวก (RTAM)


วิธีการ เจาะพื้นเพื่ออัดสารเคมีกำจัดปลวกบริเวณภายในและรอบตัวบ้าน รวมถึงจุดเสี่ยงต่างๆ เช่น ห้องครัว ห้องน้ำ ฯ


หากมีติดตั้งท่อกำจัดปลวกใต้บ้าน สามารถอัดสารเคมีลงท่อได้


สารเคมีของเร็นโทคิล เลือกสรรเฉพาะสารเคมีกำจัดปลวกที่ได้มาตรฐาน คุ้มค่า ออกฤทธิ์กำจัดปลวกอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ได้ทั้งในกรณีที่เกิดการระบาดของปลวกแล้ว หรือเพื่อป้องกันปลวกในระยะยาว


พนักงานบริการ เชี่ยวชาญ ได้รับการฝึกฝน และมีประสบการณ์กำจัดปลวก โดยเฉพาะ


ระบบเหยื่อกำจัดปลวกแบบตายต่อเนื่องถึงรัง (RCEP)


วิธีการ ติดตั้งสถานีกำจัดปลวกแบบเหยื่อล่อ ภายใน (AG) กรณีพบทางเดินปลวกในบ้าน และภายนอกบ้าน (IG) กรณีมีพื้นที่สวนแบบฝังลงดิน ปลวกจะตายอย่างต่อเนื่องถึงรัง ภายใน 45-90 วัน ขึ้นอยู่กับขนาดของรังปลวก


ระบบเหยื่อกำจัดปลวกของเร็นโทคิล ไม่ต้องเจาะพื้น ไม่มีการฉีดพ่นสารเคมีรอบตัวบ้าน ออกฤทธิ์ยับยั้งการลอกคราบของปลวก ทำให้ปลวกไม่สามารถเจริญเติบโตได้และตายในที่สุด เหมาะสำหรับบ้านหรือสถานที่ที่มีปลวกระบาดแล้ว


พนักงานบริการ เชี่ยวชาญ ได้รับการฝึกฝน และมีประสบการณ์กำจัดปลวกโดยเฉพาะ


บริการป้องกัน-กำจัดปลวกก่อนการก่อสร้าง


ระบบป้องกัน-กำจัดปลวกโดยการวางท่อ (RTGS)


วิธีการ ติดตั้งวางท่ออัดน้ำยาป้องกัน กำจัดปลวก สำหรับอัดสารเคมีลงไปในท่อในอนาคต ตามแนวคานคอดิน และรอบโครงสร้างอาคารก่อนขั้นตอนการเทพื้น พร้อมทั้งราดสารเคมีกำจัดปลวกลงบนหน้าดิน


ระบบวางท่ออัดน้ำยาป้องกัน กำจัดปลวกของเร็นโทคิล คัดสรรวัสดุ และสารเคมีกำจัดปลวก ที่ได้มาตรฐาน เพื่อกำจัดปลวกใต้ดิน และป้องกันปลวกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปกป้องยาวนาน 3-5 ปี -


พนักงานบริการ เชี่ยวชาญ ได้รับการฝึกฝน และมีประสบการณ์กำจัดปลวกโดยเฉพาะ


ระบบราดสารเคมีป้องกัน-กำจัดปลวกใต้ดิน (RST)


วิธีการโดยการอัดสารเคมีกำจัดปลวกลงใต้ดินก่อนขั้นตอนของการเทพื้น กลไกการทำงานของสารเคมี คือ เมื่อปลวกสัมผัสหรือกิน สารเคมีที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการลอกคราบจะติดตัวปลวกไป เมื่อปลวกเดินกลับรังของมัน จะเกิดการส่งต่อสารเคมีนี้ไปยังปลวกตัวอื่นๆ ภายในรัง ทำให้ปลวกไม่สามารถเจริญเติบโตและตายในที่สุด จึงสามารถลดจำนวนประชากรปลวก รวมถึงกำจัดปลวกได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่องในระยะยาว


ระบบราดสารเคมีของเร็นโทคิล เลือกสรรเฉพาะสารเคมีกำจัดปลวกที่ได้มาตรฐาน คุ้มค่า ออกฤทธิ์กำจัดปลวกอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับกำจัดปลวก และป้องกันปลวกในระยะยาวนาน 3-5 ปี

ลักษณะของปลวก

ลักษณะของปลวก เชียงใหม่

ปลวก เป็นแมลงขนาดเล็กใกล้เคียงกับมด ซึ่งอาจทำให้เราสับสนได้ หากรู้ความแตกต่างระหว่างแมลง 2 ชนิดนี้ ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการป้องกันและกำจัดปลวก


เนื่องจากพฤติกรรมของปลวกค่อนข้างลึกลับ ทำให้ตรวจสอบได้ยาก หากขาดการฝึกฝนหรืออบรมมาก่อน คุณจะพบ 'ความเสียหาย' จากปลวก ก่อนจะเจอตัวปลวกเองเสียอีก


เมื่อเรารู้ว่าพบปลวกในบ้าน และสามารถระบุชนิดของปลวกอย่างถูกต้อง จะทำให้สามารถเลือกวิธีการกำจัดปลวกได้เหมาะสม เช่นเดียวกับสัตว์รบกวนชนิดอื่นๆ หากเราสามารถระบุชนิดที่ถูกต้อง ก็จะช่วยให้สามารถเลือกวิธีการป้องกันได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ปลวก มีลักษณะอย่างไร?


ปลวกบิน หรือ แมลงเม่า จะบินออกจากรังเพื่อผสมพันธุ์และสร้างอาณาจักรใหม่ เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกับมดบิน จึงอาจเกิดความสับสนได้


ความแตกต่างระหว่างแมลง 2 ชนิดนี้ มีผลต่อวิธีบริการในการป้องกัน-กำจัดปลวก และสัตว์รบกวน ข้อแตกต่างทางกายภาพ และพฤติกรรมของแมลงเม่าและมดบิน มีดังนี้


เอว - ปลวกมีเอวตรง ส่วนมดมีเอวเล็กคอด


หนวด - ปลวกมีหนวดตรง ส่วนมดมีหนวดหักศอก


ความยาวของปีก - ปลวกมีปีกยาวเท่ากัน ส่วนมดมีปีกไม่เท่ากัน


ปีก - มดบินจะไม่สลัดปีก หากคุณเห็นเศษปีกแมลงหลุดร่วง (มักพบบริเวณขอบหน้าต่าง) ให้มั่นใจได้ว่าสถานที่ของคุณมีปลวก


ความแตกต่างของรูปร่าง - ภาพด้านล่างนี้ บ่งบอกความแตกต่างของปลวกและมดบินได้อย่างชัดเจน

ชีววิทยาของปลวก

 ชีววิทยาของปลวก เชียงใหม่

ปลวก เป็นแมลงสังคมชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในอันดับ lsoptera มีชีวิตความเป็นอยุ่ที่ซับซ้อน แบ่งเป็น 3 วรรณะมีรูปร่างและหน้าที่ที่แตกต่างกันชัดเจน คือ


1. วรรณะปลวกงาน มีหน้าที่ในการหาอาหารมาเลี้ยงสมาชิกภายในรังและดูแลซ่อมแซมรังและหาแหล่งอาหารใหม่


2. วรรณะทหาร มีหน้าที่ป้องกันศัตรูภายในรังคอยระวังภัยผู้ที่จะเข้ามาทำลายสมาชิกภายในรัง


3. วรรณะสืบพันธุ์ หรือเรียกว่า แมลงเม่ามีหน้าที่สืบพันธุ์ขยายพันธุ์และ หาแหล่งขยายพันธุ์ใหม่ๆส่วนในประเทศไทย ปลวกที่สร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างบ้าน และเศรษฐกิจเรามากที่สุด คือ สายพันธุ์Coptotermes spp แม้ว่าปลวกบางชนิดจะเป็นศัตรู ที่ทำความเสียหาย แต่ในทางนิเวศน์วิทยาแล้วปลวกกว่า 80% จัดเป็นแมลงที่มีคุณประโยชน์ โดยปลวกจัดเป็น ผู้ย่อยสลาย (Decomposer) พบว่า 3 ใน 4 ของขยะรรมชาติ เช่น ซากพืช เศษใบไม้ ท่อนไม้หรือ ต้นไม้ที่ยืนต้นตาย ปลวกจะทำหน้าที่ช่วย ในการย่อยสลายให้ผุพังและเปลี่ยนเป็น ฮิวมัส หรืออินทรีวัตถุภายในดินก่อให้เกิดการหมุนเวียน อย่างรวดเร็วของธาตุอาหารในดิน ในระบบนิเวศน์วิทยาที่ยังสมบูรณ์ ปลวกยังเกี่ยวพันอยู่ในสายโซ่อาหารที่ซับซ้อน(Food chain) มีการถ่ายเทพลังงานกัน ก่อให้เกิดการเพิ่มผลผลิตของมวลชีวภาพ โดยปลวกจัดเป็นแหล่งอาหาร ที่เกื้อหนุนกับมนุษย์ และผู้บริโภคอื่นๆในป่าธรรมชาติอีกมากมาย


ชนิดของปลวกจำแนก ตามแหล่งที่อยู่อาศัยสามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือ


1. ปลวกที่อาศัยอยู่ในเนื้อไม้


- ปลวกไม้แห้ง (Dry wood termite)


- ปลวกไม้เปียก (Damp wood termite)


2. ปลวกที่อาศัยอยู่ในดิน


- ปลวกสร้างรังอยู่ในดิน (Subterranean nest)


- ปลวกที่สร้างรังขนาดเล็กบนดิน หรือบนต้นไม้ (Epigeal or arboreal nest)


- ปลวกสร้างรังดินขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ (Mound)


ปัจจุบันพบแล้วประมาณ 2,750 ชนิด ใน 7 วงศ์ มีขนาดตั้งแต่ขนาดจิ๋วถึงขนาดใหญ่ ปากเป็นแบบกัดกิน มีปีกลักษณะเป็นแผ่นเยื่อบาง (membranous) ชนิดที่มีปีก มีตารวมเจริญดี ทั้งปีก หน้าและปีกหลังมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก จนเกือบเรียกได้ว่าเท่ากัน ชนิดที่ไม่มีปีกอาจมีหรือไม่มีตารวม และอาจมีตาเดี่ยว 2 ตา หรือไม่มีเลย หนวดส่วนใหญ่มีขนาดสั้น ส่วนใหญ่เป็นแบบ สร้อยร้อยลูกปัด (moniliform) บางชนิดเป็นแบบเส้นด้าย (filliform) จำนวน 9 - 30 ปล้อง ชนิดที่มีปีก 2 คู่ จะมีขนาดเท่ากันทั้ง 2 คู่ สามารถสลัดปีกทิ้งได้ ขาเป็นแบบใช้เดิน (walking legs) ฝ่าเท้าส่วนใหญ่มี 4 ปล้อง แต่บางชนิดมีถึง 6 ปล้อง มีปล้องท้องทั้งหมด 10 ปล้อง และจะพบรยางค์ที่ส่วนท้อง (styli) 1 คู่ (ปลวกในวงศ์ Mastotermitidae และ Hodotermitidae รยางค์มี 5 - 8 ปล้อง แต่ในวงศ์อื่นพบเพียง 2 ปล้อง) อวัยวะเพศมักเสื่อมหรือไม่มี แพนหางมีขนาดสั้น จำนวน 1 - 8 ปล้อง หลายชนิดส่วนหัวมีรอยยุบ เรียกว่า fontanelle เป็นช่องเปิดเล็กๆอยู่บริเวณกลาง หัวทางด้านบนหรือระหว่างตาประกอบ ระหว่างทางตอนท้ายของส่วนหัวกับอกปล้องแรกมีแผ่นแข็งที่เรียกว่า cervical sclerite ทำให้คอมีความแข็งแรง ปลวกส่วนใหญ่มักพบในเขตร้อนหรือเขต ร้อนชื้น


บางชนิดพบในเขตหนาว จัดเป็นแมลงสังคม (social insects) ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่นับหมื่นๆตัว อยู่ภายในรังที่สร้างไว้ในดินที่เรียกว่า จอมปลวก (termitarium) หรือตามโพรงต้นไม้ เรามักจะพบเห็นปลวกที่มีลำตัวขาวซีดลักษณะคล้ายมด บางครั้งจึงมีคนเรียกปลวกเหล่านี้ว่า white ant

ปลวกมีการแบ่งเป็นวรรณะ (case) ต่างๆ ดังนี้


1). วรรณะสืบพันธุ์ (primary reproductive caste) ประกอบด้วย


ปลวกแม่รังหรือนางพญา (queen) และปลวกพ่อรัง (king) เป็นปลวกที่มีปีก อวัยวะเพศ และตารวมที่เจริญดี ใน 1 รัง จะมีแม่รังเพียง 1 ตัว แต่อาจมีพ่อรังได้หลายตัว แม่รังและพ่อรังจะอาศัยอยู่ในโพรงนางพญา (hollow royal chamber) ซึ่งตั้งอยู่ในส่วนที่ลึกที่สุดของรังเพื่อปกป้องแม่รัง แม่รังมีขนาดใหญ่มากที่สุด ถ้าเทียบปลวกงานเป็นมนุษย์ แม่รังจะมีน้ำหนักมากถึง 10 ตัน (10,000 กก.) และมีอายุยืนยาว บางชนิดมีอายุถึง 50 ปี ในช่วงฤดูฝนจะมีการผลิตปลวกวรรณะสืบพันธุ์ที่เราเรียกกันว่าแมลงเม่า (alates)ออกมานับพันตัว เพื่อให้บินออกมาจับคู่ผสมพันธุ์ เมื่อผสมพันธุ์เสร็จจะสลัดปีกทิ้งและเดินตามกันเพื่อหาช่องว่างหรือรอยแตกภายในดิน หลังจากนั้นจะวางไข่ และสร้างรังใหม่ต่อไป ซึ่งในการหน้า 2 วางไข่ครั้งแรกนี้จะสามารถวางไข่ได้น้อยมาก ประมาณ 20 ฟอง และจะฟักเป็นตัวอ่อนภายใน 7 วัน ทั้งพ่อรังและแม่รังจะช่วยกันเลี้ยงดูตัวอ่อนจนเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งทำหน้าที่เป็นปลวกงานรุ่นแรก เมื่อวางไข่ครั้งแรกแล้วส่วนท้องของแม่รังตัวใหม่นี้จะขยายใหญ่ขึ้นหลายเท่าจากเดิม เรียกว่า physogastric เพื่อผลิตไข่ให้ได้มากขึ้น แม่รังที่สมบูรณ์จะสามารถวางไข่ได้ 2,000 - 3,000 ฟองต่อวัน ปลวก Macrotermes subhyalinus ในแอฟริกา มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำตัว 3.5 ซม. และมีความยาว 14 ซม. สามารถวางไข่ได้ถึง 30,000 ฟองต่อวัน การที่ลำตัวขยายใหญ่มากนี้ ทำให้ความสามารถในการเคลื่อนไหวลดลง ทำให้ต้องมีปลวกงานคอยรับใช้ คอยป้อนอาหาร ทำความสะอาดอยู่ตลอดเวลา แม่รังจะปล่อยฟีโรโมนเพื่อควบคุมการทำงานของวรรณะอื่นๆ ทั่วทั้งรัง ให้เกิดการแบ่งงานเป็นสังคมขึ้นมา ส่วนปลวกพ่อรังจะมีขนาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังจากผสมพันธุ์กับปลวกแม่รัง และจะยังผสมพันธุ์ได้อีกหลายครั้งตลอดชีวิต นี่เป็นอีกข้อแตกต่างหนึ่งที่แตกต่างจากสังคมมด เพราะมดตัวผู้จะมีชีวิตได้อีกไม่นานหลังจากผสมพันธุ์และสามารถผสมพันธุ์ได้เพียงครั้งเดียว


2). วรรณะสืบพันธุ์รอง (primary reproductive caste) ประกอบด้วย


ปลวกที่มีปีกสั้นมาก ตารวมขนาดเล็ก หรือบางทีอาจเป็นปลวกที่ไม่มีปีก มีลำตัวขาวซีด ดูคล้ายปลวกงาน ทำหน้าที่ทดแทนแม่รังในการแพร่พันธุ์


3). วรรณะปลวกงาน (worker caste) ประกอบด้วย


ปลวกตัวอ่อน และตัวเต็มวัยที่เป็นหมัน มักไม่มีตารวม กรามมีขนาดเล็ก ไม่มีปีก ลำตัวอ่อนนุ่มขาวซีด มองดูคล้ายมด จึงมีคนเรียกปลวกงานว่า มดขาว (white ants)จัดว่าเป็นวรรณะแรงงานหลักของรัง ทำหน้าที่เก็บสะสมอาหารและป้อนอาหารให้แม่รัง ปลวกทหาร และปลวกตัวอ่อนที่เกิดใหม่ ทำความสะอาดระหว่างปลวกงานด้วยกันเอง ตลอดจนถึงการซ่อมแซมและต่อเติมรังใหม่ ตลอดจนถึงทางเดินภายในรัง รวมถึงการเพาะเลี้ยงราไว้เป็นอาหาร


4). วรรณะปลวกทหาร (soldier caste)ประกอบด้วย


ปลวกตัวเต็มวัยที่เป็นหมัน ลำตัวใหญ่กว่าปลวกงาน อาจมีหรือไม่มีตารวม หัวกะโหลกเป็นเกราะแข็ง มีกรามขนาดใหญ่ หรือบางทีขยายยาวลักษณะเป็นคีม ใช้ต่อสู้กับผู้รุกราน ปลวกใน วงศ์ย่อย (sub-family Nasutitermitinae) ปลวกทหารสามารถปล่อยของเหลวจากส่วนหัวยื่นยาวคล้ายจมูกหรืองวงใช้ขับไล่ศัตรู หรืออาจมีรูเล็กๆบนส่วนหัวที่เรียกว่า fontanelle ไว้ปล่อยสารขับไล่ศัตรูเช่นกันและลักษะของ fontanelle นี้ยังสามารถพบได้ในวงศ์ Rhinotermitidae อีกด้วย ปลวกทหารบางชนิดมีส่วนหัวที่กลมมน (phragmotic)เพื่อใช้ปิดอุโมงค์ที่แคบเพื่อไม่ให้มดเข้ามารุกรานภายในรัง และเมื่อมีปลวกตัวที่ปิดอุโมงค์เกิดพลาดท่า ปลวกที่คอยเตรียมพร้อมด้านหลังก็จะเข้ามาแทนที่ และเมื่อมีการบุกรุกจากรอยแตกที่ใหญ่เกินกว่าจะใช้ส่วนหัวปิดได้ จะมีปลวกทหารรูปแบบอื่นๆออกมาล้อมรอยแตก แล้วกัดหรือฉีดสารเหนียวออกจากส่วนหัวที่มีลักษณะคล้ายงวง ขณะเดียวกันนั้นปลวกงานก็จะทำการซ่อมแซมรอยแตกเป็นเหตุทำให้ตายเป็นจำนวนมาก เป็นรูปแบบของการสละชีพเพื่อการป้องกันรัง การเคาะส่วนหัวที่แข็งแรงกับพื้นเป็นจังหวะ ในปลวกบางชนิดมีปลวกทหาร 2 ขนาด (dimorphic) คือขนาดเล็กและสามเท่าของขนาดเล็ก เรามักจะพบเห็นปลวกทหารจำนวนมาก คอยคุ้มกันและระวังภัยให้กับปลวกงานที่กำลังออกหาอาหาร ซ่อมแซมหรือขยายรัง การที่มีฟันกรามขยายใหญ่มากนี้ทำให้ไม่สามารถกินอาหารเองได้ ทำให้ต้องคอยการป้อนอาหารจากปลวกงานปลวกมีการเจริญเติบโตแบบไม่สมบูรณ์แบบ (Incomplete metamorphosis)กล่าวคือเมื่อปลวกฟักออกจากไข่ก็จะมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยเพียงแต่มีขนาดเล็กว่าในปลวกวรรณะสืบพันธุ์ตัวอ่อนจะยังไม่มีปีก และระบบสืบพันธุ์จะยังไม่เจริญสมบูรณ์ยังไม่สามารสืบพันธุ์ได้ ปลวกตัวตัวอ่อนนี้จะมีการลอกคราบหลายครั้ง และการลอกคราบครั้งสุดท้ายกลายเป็นตัวเต็มวัย การแบ่งปลวกตามชนิดของจุลินทรีย์ที่อยู่ในระบบทางเดินอาหารในกระบวนการกินและการย่อยอาหาร ปลวกจะไม่สามารถผลิตน้ำย่อยหรือเอนไซม์ออกมาย่อยอาหารได้เอง แต่จะต้องพึ่งจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่อาศัยร่วมอยู่ภายในระบบทางเดินอาหารของปลวก เช่น โปรโตซัว แบคทีเรีย หรือเชื้อรา ให้ผลิตเอนไซม์ที่มีประสิทธิภาพ เช่น cellulase และ lignocellulase ออกมาย่อย cellulose หรือ lignin ซึ่งเป็นองค์ประกกอบหลักของอาหารที่ปลวกกินเข้าไป ให้เปลี่ยนเป็นพลังงาน หรือสารประกอบในรูปที่ปลวกสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตได้


เราสามารถแบ่งปลวกตามชนิดของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารได้เป็น 2 ประเภทดังนี้


1). ปลวกชั้นต่ำ ส่วนใหญ่เป็นปลวกชนิดที่กินเนื้อไม้เป็นอาหาร จะอาศัยโปรโตซัว ซึ่งอาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหาร


2). ปลวกชั้นสูง ส่วนใหญ่เป็นปลวกชนิดที่กินดิน ซากอินทรีย์วัตถุ ไลเคน รวมถึงพวกที่กินเศษไม้ ใบไม้ และเพาะเลี้ยงเชื้อราไว้เป็นอาหาร จะมี วิวัฒนาการที่สูงขึ้น เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาพนิเวศที่แห้งแล้งหรือขาดอาหารได้ดี โดยอาศัยจุลินทรีย์จำพวก bacteria หรือเชื้อราในระบบทางเดินอาหาร ทำหน้าที่สร้างเอนไซม์เพื่อช่วยย่อยอาหารให้กับปลวก ซึ่งแบคทีเรียบางชนิด จะมีความสามารถในการจับไนโตรเจนจากอากาศ มาสร้างเป็นกรดอะมิโนที่ปลวกสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตได้ และบางชนิดสามารถสร้างเอนไซม์ที่ประสิทธิภาพในการย่อยสลายสารพิษบางอย่างที่สลายตัวได้ยากในสิ่งแวดล้อม ช่วยในการผลิตเอนไซม์ออกมาย่อยอาหาร ปลวกกับจุลินทรีย์และอาหาร


ปลวกกินเนื้อไม้(cellulose) เป็นอาหารซึ่งเป็นแหล่งพลังงานชั้นดีของปลวก


ดังจะเห็นได้จากพลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกมาเมื่อเราเผาไม้ โดยการที่ปลวกสามารถย่อยสลายเนื้อไม้ก็เพราะอาศัยโปรโตซัว


ดังเช่น จีนัส Trichonympha และจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในส่วนที่เรียกว่า ileum ของลำไส้ตอนท้ายซึ่งขยายเป็นกระเปาะเล็กๆ เป็นภาวะการพึ่งพาอาศัยซึ่ง (symbiosis) ระหว่างปลวกกับโปรโตซัว โดยต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ เฉพาะปลวกงานเท่านั้นที่สามารถย่อยสลายเนื้อไม้ได้ โดยปลวกงานจะใช้อาหารข้นที่ถูกย่อยแล้วจากทางเดินอาหาร ขับออกทางปากหรือทวารหนัก


ป้อนเป็นอาหารแก่ปลวกตัวอ่อน ปลวกแม่รัง ปลวกแม่รัง และปลวกทหาร เรียกกระบวนการนี้ว่า "trophallaxis" ซึ่งก็ถือว่าเป็นการถ่ายทอดโปรโตซัวที่อยู่ภายในระบบทางเดินอาหารจากรุ่นสู่รุ่น และยังมีปลวกชั้นสูง"higher termites", ที่สามารถผลิตเอมไซม์สำหรับย่อยเนื้อไม้ได้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะปลวกในวงศ์ Termitidae แต่อย่างไรก็ตาม ในกระเพาะอาหารของปลวกวงศ์นี้ยังพบ แบคทีเรียและสิ่งที่เกิดจากการย่อยสลายในขั้นต้นอยู่ด้วย ปลวกหลายชนิดมีการทำสวนรา(fungal gardens) โดยเฉพาะราในสกุล Termitomycesไว้เป็นอาหารจากมูลก้อนเล็กๆ และเศษใบไม้นับร้อยแห่งทั่วรัง โดยเริ่มจากการที่ปลวกกินรานี้เข้าไป สปอร์ของราก็จะเข้าไปอยู่ในกระเพาะของปลวกโดยไม่ทำอันตรายใดๆกับปลวก เมื่อปลวกถ่ายออกมา เชื้อรานี้ก็จะงอกในสวนราเป็นอาหารของปลวกต่อไปนอกจากเนื้อไม้แล้วยังมีปลวกชนิดที่กินดินและอินทรีย์วัตถุต่างๆ รวมถึงไลเคนอีกด้วย


การสร้างรัง


ปลวกเป็นสัตว์สังคมที่มีความสามารถในการสร้างสถาปัตยกรรมและสัญชาตญาณในการอยู่รอดอย่างดีเยี่ยม ปลวกจะสร้างรังในซากต้นไม้ที่ติดกับพื้นดิน หรือสร้างรังบนดินที่เราเรียกกันว่า "จอมปลวก" (" Mounds") โดยใช้น้ำลายและมูลที่ผนึกดินเข้าด้วยกันทำให้โครงสร้างมีความแข็งแรงและสร้างอุโมงค์คดเคี้ยวไปมามากมาย รูปทรงต่างๆกัน ทำให้บางครั้งสามารถแยกบางชนิดได้โดยดูจากรูปทรงของจอมปลวกนี้ เช่น ปลวกบางชนิดจะสร้างรังเป็นรูปลิ่มสูง และมีแนวแกนกลางที่ยาว วางตัวในแนวเหนือใต้เสมอ พบว่ารังปลวกในแอฟริกามีความสูงถึง 9 เมตร (30 ฟุต) ซึ่งถ้าเทียบอัตราส่วนกับมนุษย์แล้วจะสูงมากกว่า 3 กิโลเมตร เป็นที่อยู่อาศัยของปลวกนับล้านตัว ปลวกสามารถสำรวจลงไปในดินลึกกว่า 20 เมตร และนำแร่โลหะขึ้นมาเป็นวัสดุในการสร้างรัง


วิธีการนี้ทำให้นักสำรวจทองคำสามารถค้นพบแหล่งที่เป็นสายแร่ทองคำได้ รังที่สร้างขึ้นนี้ได้รับความชื้นที่ปลดปล่อยมาจากดินและซากเนื้อไม้ที่กำลังถูกย่อยสลายภายในรังใต้ดิน และการมีอุโมงค์ที่คดเคี้ยวไปมา และมีโพรงสำหรับระบายอากาศให้อากาศไหลเวียนได้ตลอดเวลา


จึงทำให้รังปลวกสามารถรักษาระดับสมดุลของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ได้ และนอกจากนี้ยังมีผลทำให้อุณหภูมิคงที่ และเปลี่ยนแปลงไม่เกิน 1 องศาเซลเซียส ตลอดทั้งวัน ทำให้ปลวกสามารถมีชีวิตรอดได้แม้จะอยู่ในทะเลทรายก็ตาม


ประโยชน์และโทษของปลวก


ปลวกมีประโยชน์ในแง่ของการเป็นผู้ย่อยสลายเศษไม้ ใบไม้ ต่างๆ มูลสัตว์ กระดูก ซากสัตว์แม้กระทั่งมูลของปลวกเองและซากของตัวที่ตายแล้ว ให้ย่อยสลายกลายเป็นอินทรีย์วัตถุ สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ในแอฟริกาใช้ปลวกทหารในการรักษาแผลอักเสบ ใช้ปลวกแม่รังเป็นยาบำรุงเพศ ดินจากจอมปลวกสามารถพอกรักษากระดูก นอกจากนี้ยังสามารถรักษาคางทูม และโรคอีสุกอีไส แต่อย่างไรก็ตามปลวกจัดว่าเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญทางเศรษฐกิจอย่างสูงคาดว่าประมาณ 10 % ของปลวกที่มนุษย์รู้จักทั้งหมด ปลวกสามารถ ทำลายไม้ยืนต้น ไม้ซุง ไม้ยืนต้น ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ต่างๆ ตลอดจนเข้าทำลายโครงสร้างของอาคารบ้านเรือนที่เป็นไม้ ให้ได้รับความเสียหายอย่างมาก นอกจากนี้ยังพบว่ารังปลวกจะปล่อยก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก (greenhouse effect)


ประวัติเชิงวิวัฒนาการ


เชื่อกันว่าปลวกมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแมลงสาบและตั๊กแตนตำข้าว ถูกจัดรวมกันใน superorder Dictyoptera ปลวกเกิดในมหายุค Paleozoic โดยคาดว่ามีวิวัฒนาการจากบรรพบุรุษที่มีลักษณะคล้ายแมลงสาบ เนื่องจากปลวกและแมลงสาบมีความเหมือนกันหลายๆอย่าง เช่น พบว่าแมลงสาบบางชนิดกินไม้ผุๆ เป็นอาหาร อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยมีทุกวัยอยู่ด้วยกัน และยังมีโปรโตซัวบ้างชนิดอยู่ในทางเดินอาหารเพื่อช่วยย่อยเซลลูโลสในเยื่อไม้ โปรโตซัวที่พบในแมลงสาบชนิดนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับชนิดที่พบในปลวกโบราณ มีการค้นพบว่ามีแบคทีเรียในทางเดินอาหารของแมลงสาบในสกุล Cryptocercus มีประวัติของเผ่าพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับที่พบในปลวกมากกว่าแมลงสาบชนิดอื่นๆ อีกทั้งแมลงสาบในสกุลนี้ยังมีลักษณะทางสัณฐานวิทยาและการมีพฤติกรรมเป็นแมลงสังคมอีกด้วย


หากบ้านที่ท่านรักต้องผจญกับแมลงและหนูต่างๆเหล่านี้แล้ว เราขอเชิญท่านโทรมาปรึกษา


ชีววิทยาของปลวก


ปลวก เป็นแมลงสังคมชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในอันดับ lsoptera มีชีวิตความเป็นอยุ่ที่ซับซ้อน แบ่งเป็น 3 วรรณะมีรูปร่างและหน้าที่ที่แตกต่างกันชัดเจน คือ


1. วรรณะปลวกงาน มีหน้าที่ในการหาอาหารมาเลี้ยงสมาชิกภายในรังและดูแลซ่อมแซมรังและหาแหล่งอาหารใหม่


2. วรรณะทหาร มีหน้าที่ป้องกันศัตรูภายในรังคอยระวังภัยผู้ที่จะเข้ามาทำลายสมาชิกภายในรัง


3. วรรณะสืบพันธุ์ หรือเรียกว่า แมลงเม่ามีหน้าที่สืบพันธุ์ขยายพันธุ์และ หาแหล่งขยายพันธุ์ใหม่ๆส่วนในประเทศไทย ปลวกที่สร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างบ้าน และเศรษฐกิจเรามากที่สุด คือ สายพันธุ์Coptotermes spp แม้ว่าปลวกบางชนิดจะเป็นศัตรู ที่ทำความเสียหาย แต่ในทางนิเวศน์วิทยาแล้วปลวกกว่า 80% จัดเป็นแมลงที่มีคุณประโยชน์ โดยปลวกจัดเป็น ผู้ย่อยสลาย (Decomposer) พบว่า 3 ใน 4 ของขยะรรมชาติ เช่น ซากพืช เศษใบไม้ ท่อนไม้หรือ ต้นไม้ที่ยืนต้นตาย ปลวกจะทำหน้าที่ช่วย ในการย่อยสลายให้ผุพังและเปลี่ยนเป็น ฮิวมัส หรืออินทรีวัตถุภายในดินก่อให้เกิดการหมุนเวียน อย่างรวดเร็วของธาตุอาหารในดิน ในระบบนิเวศน์วิทยาที่ยังสมบูรณ์ ปลวกยังเกี่ยวพันอยู่ในสายโซ่อาหารที่ซับซ้อน(Food chain) มีการถ่ายเทพลังงานกัน ก่อให้เกิดการเพิ่มผลผลิตของมวลชีวภาพ โดยปลวกจัดเป็นแหล่งอาหาร ที่เกื้อหนุนกับมนุษย์ และผู้บริโภคอื่นๆในป่าธรรมชาติอีกมากมาย


ชนิดของปลวกจำแนก ตามแหล่งที่อยู่อาศัยสามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือ


1. ปลวกที่อาศัยอยู่ในเนื้อไม้


- ปลวกไม้แห้ง (Dry wood termite)


- ปลวกไม้เปียก (Damp wood termite)


2. ปลวกที่อาศัยอยู่ในดิน


- ปลวกสร้างรังอยู่ในดิน (Subterranean nest)


- ปลวกที่สร้างรังขนาดเล็กบนดิน หรือบนต้นไม้ (Epigeal or arboreal nest)


- ปลวกสร้างรังดินขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ (Mound)


ปัจจุบันพบแล้วประมาณ 2,750 ชนิด ใน 7 วงศ์ มีขนาดตั้งแต่ขนาดจิ๋วถึงขนาดใหญ่ ปากเป็นแบบกัดกิน มีปีกลักษณะเป็นแผ่นเยื่อบาง (membranous) ชนิดที่มีปีก มีตารวมเจริญดี ทั้งปีก หน้าและปีกหลังมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก จนเกือบเรียกได้ว่าเท่ากัน ชนิดที่ไม่มีปีกอาจมีหรือไม่มีตารวม และอาจมีตาเดี่ยว 2 ตา หรือไม่มีเลย หนวดส่วนใหญ่มีขนาดสั้น ส่วนใหญ่เป็นแบบ สร้อยร้อยลูกปัด (moniliform) บางชนิดเป็นแบบเส้นด้าย (filliform) จำนวน 9 - 30 ปล้อง ชนิดที่มีปีก 2 คู่ จะมีขนาดเท่ากันทั้ง 2 คู่ สามารถสลัดปีกทิ้งได้ ขาเป็นแบบใช้เดิน (walking legs) ฝ่าเท้าส่วนใหญ่มี 4 ปล้อง แต่บางชนิดมีถึง 6 ปล้อง มีปล้องท้องทั้งหมด 10 ปล้อง และจะพบรยางค์ที่ส่วนท้อง (styli) 1 คู่ (ปลวกในวงศ์ Mastotermitidae และ Hodotermitidae รยางค์มี 5 - 8 ปล้อง แต่ในวงศ์อื่นพบเพียง 2 ปล้อง) อวัยวะเพศมักเสื่อมหรือไม่มี แพนหางมีขนาดสั้น จำนวน 1 - 8 ปล้อง หลายชนิดส่วนหัวมีรอยยุบ เรียกว่า fontanelle เป็นช่องเปิดเล็กๆอยู่บริเวณกลาง หัวทางด้านบนหรือระหว่างตาประกอบ ระหว่างทางตอนท้ายของส่วนหัวกับอกปล้องแรกมีแผ่นแข็งที่เรียกว่า cervical sclerite ทำให้คอมีความแข็งแรง ปลวกส่วนใหญ่มักพบในเขตร้อนหรือเขต ร้อนชื้น


บางชนิดพบในเขตหนาว จัดเป็นแมลงสังคม (social insects) ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่นับหมื่นๆตัว อยู่ภายในรังที่สร้างไว้ในดินที่เรียกว่า จอมปลวก (termitarium) หรือตามโพรงต้นไม้ เรามักจะพบเห็นปลวกที่มีลำตัวขาวซีดลักษณะคล้ายมด บางครั้งจึงมีคนเรียกปลวกเหล่านี้ว่า white ant


ปลวกมีการแบ่งเป็นวรรณะ (case) ต่างๆ ดังนี้


1). วรรณะสืบพันธุ์ (primary reproductive caste) ประกอบด้วย


ปลวกแม่รังหรือนางพญา (queen) และปลวกพ่อรัง (king) เป็นปลวกที่มีปีก อวัยวะเพศ และตารวมที่เจริญดี ใน 1 รัง จะมีแม่รังเพียง 1 ตัว แต่อาจมีพ่อรังได้หลายตัว แม่รังและพ่อรังจะอาศัยอยู่ในโพรงนางพญา (hollow royal chamber) ซึ่งตั้งอยู่ในส่วนที่ลึกที่สุดของรังเพื่อปกป้องแม่รัง แม่รังมีขนาดใหญ่มากที่สุด ถ้าเทียบปลวกงานเป็นมนุษย์ แม่รังจะมีน้ำหนักมากถึง 10 ตัน (10,000 กก.) และมีอายุยืนยาว บางชนิดมีอายุถึง 50 ปี ในช่วงฤดูฝนจะมีการผลิตปลวกวรรณะสืบพันธุ์ที่เราเรียกกันว่าแมลงเม่า (alates)ออกมานับพันตัว เพื่อให้บินออกมาจับคู่ผสมพันธุ์ เมื่อผสมพันธุ์เสร็จจะสลัดปีกทิ้งและเดินตามกันเพื่อหาช่องว่างหรือรอยแตกภายในดิน หลังจากนั้นจะวางไข่ และสร้างรังใหม่ต่อไป ซึ่งในการหน้า 2 วางไข่ครั้งแรกนี้จะสามารถวางไข่ได้น้อยมาก ประมาณ 20 ฟอง และจะฟักเป็นตัวอ่อนภายใน 7 วัน ทั้งพ่อรังและแม่รังจะช่วยกันเลี้ยงดูตัวอ่อนจนเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งทำหน้าที่เป็นปลวกงานรุ่นแรก เมื่อวางไข่ครั้งแรกแล้วส่วนท้องของแม่รังตัวใหม่นี้จะขยายใหญ่ขึ้นหลายเท่าจากเดิม เรียกว่า physogastric เพื่อผลิตไข่ให้ได้มากขึ้น แม่รังที่สมบูรณ์จะสามารถวางไข่ได้ 2,000 - 3,000 ฟองต่อวัน ปลวก Macrotermes subhyalinus ในแอฟริกา มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำตัว 3.5 ซม. และมีความยาว 14 ซม. สามารถวางไข่ได้ถึง 30,000 ฟองต่อวัน การที่ลำตัวขยายใหญ่มากนี้ ทำให้ความสามารถในการเคลื่อนไหวลดลง ทำให้ต้องมีปลวกงานคอยรับใช้ คอยป้อนอาหาร ทำความสะอาดอยู่ตลอดเวลา แม่รังจะปล่อยฟีโรโมนเพื่อควบคุมการทำงานของวรรณะอื่นๆ ทั่วทั้งรัง ให้เกิดการแบ่งงานเป็นสังคมขึ้นมา ส่วนปลวกพ่อรังจะมีขนาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังจากผสมพันธุ์กับปลวกแม่รัง และจะยังผสมพันธุ์ได้อีกหลายครั้งตลอดชีวิต นี่เป็นอีกข้อแตกต่างหนึ่งที่แตกต่างจากสังคมมด เพราะมดตัวผู้จะมีชีวิตได้อีกไม่นานหลังจากผสมพันธุ์และสามารถผสมพันธุ์ได้เพียงครั้งเดียว


2). วรรณะสืบพันธุ์รอง (primary reproductive caste) ประกอบด้วย


ปลวกที่มีปีกสั้นมาก ตารวมขนาดเล็ก หรือบางทีอาจเป็นปลวกที่ไม่มีปีก มีลำตัวขาวซีด ดูคล้ายปลวกงาน ทำหน้าที่ทดแทนแม่รังในการแพร่พันธุ์


3). วรรณะปลวกงาน (worker caste) ประกอบด้วย


ปลวกตัวอ่อน และตัวเต็มวัยที่เป็นหมัน มักไม่มีตารวม กรามมีขนาดเล็ก ไม่มีปีก ลำตัวอ่อนนุ่มขาวซีด มองดูคล้ายมด จึงมีคนเรียกปลวกงานว่า มดขาว (white ants)จัดว่าเป็นวรรณะแรงงานหลักของรัง ทำหน้าที่เก็บสะสมอาหารและป้อนอาหารให้แม่รัง ปลวกทหาร และปลวกตัวอ่อนที่เกิดใหม่ ทำความสะอาดระหว่างปลวกงานด้วยกันเอง ตลอดจนถึงการซ่อมแซมและต่อเติมรังใหม่ ตลอดจนถึงทางเดินภายในรัง รวมถึงการเพาะเลี้ยงราไว้เป็นอาหาร


4). วรรณะปลวกทหาร (soldier caste)ประกอบด้วย


ปลวกตัวเต็มวัยที่เป็นหมัน ลำตัวใหญ่กว่าปลวกงาน อาจมีหรือไม่มีตารวม หัวกะโหลกเป็นเกราะแข็ง มีกรามขนาดใหญ่ หรือบางทีขยายยาวลักษณะเป็นคีม ใช้ต่อสู้กับผู้รุกราน ปลวกใน วงศ์ย่อย (sub-family Nasutitermitinae) ปลวกทหารสามารถปล่อยของเหลวจากส่วนหัวยื่นยาวคล้ายจมูกหรืองวงใช้ขับไล่ศัตรู หรืออาจมีรูเล็กๆบนส่วนหัวที่เรียกว่า fontanelle ไว้ปล่อยสารขับไล่ศัตรูเช่นกันและลักษะของ fontanelle นี้ยังสามารถพบได้ในวงศ์ Rhinotermitidae อีกด้วย ปลวกทหารบางชนิดมีส่วนหัวที่กลมมน (phragmotic)เพื่อใช้ปิดอุโมงค์ที่แคบเพื่อไม่ให้มดเข้ามารุกรานภายในรัง และเมื่อมีปลวกตัวที่ปิดอุโมงค์เกิดพลาดท่า ปลวกที่คอยเตรียมพร้อมด้านหลังก็จะเข้ามาแทนที่ และเมื่อมีการบุกรุกจากรอยแตกที่ใหญ่เกินกว่าจะใช้ส่วนหัวปิดได้ จะมีปลวกทหารรูปแบบอื่นๆออกมาล้อมรอยแตก แล้วกัดหรือฉีดสารเหนียวออกจากส่วนหัวที่มีลักษณะคล้ายงวง ขณะเดียวกันนั้นปลวกงานก็จะทำการซ่อมแซมรอยแตกเป็นเหตุทำให้ตายเป็นจำนวนมาก เป็นรูปแบบของการสละชีพเพื่อการป้องกันรัง การเคาะส่วนหัวที่แข็งแรงกับพื้นเป็นจังหวะ ในปลวกบางชนิดมีปลวกทหาร 2 ขนาด (dimorphic) คือขนาดเล็กและสามเท่าของขนาดเล็ก เรามักจะพบเห็นปลวกทหารจำนวนมาก คอยคุ้มกันและระวังภัยให้กับปลวกงานที่กำลังออกหาอาหาร ซ่อมแซมหรือขยายรัง การที่มีฟันกรามขยายใหญ่มากนี้ทำให้ไม่สามารถกินอาหารเองได้ ทำให้ต้องคอยการป้อนอาหารจากปลวกงานปลวกมีการเจริญเติบโตแบบไม่สมบูรณ์แบบ (Incomplete metamorphosis)กล่าวคือเมื่อปลวกฟักออกจากไข่ก็จะมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยเพียงแต่มีขนาดเล็กว่าในปลวกวรรณะสืบพันธุ์ตัวอ่อนจะยังไม่มีปีก และระบบสืบพันธุ์จะยังไม่เจริญสมบูรณ์ยังไม่สามารสืบพันธุ์ได้ ปลวกตัวตัวอ่อนนี้จะมีการลอกคราบหลายครั้ง และการลอกคราบครั้งสุดท้ายกลายเป็นตัวเต็มวัย การแบ่งปลวกตามชนิดของจุลินทรีย์ที่อยู่ในระบบทางเดินอาหารในกระบวนการกินและการย่อยอาหาร ปลวกจะไม่สามารถผลิตน้ำย่อยหรือเอนไซม์ออกมาย่อยอาหารได้เอง แต่จะต้องพึ่งจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่อาศัยร่วมอยู่ภายในระบบทางเดินอาหารของปลวก เช่น โปรโตซัว แบคทีเรีย หรือเชื้อรา ให้ผลิตเอนไซม์ที่มีประสิทธิภาพ เช่น cellulase และ lignocellulase ออกมาย่อย cellulose หรือ lignin ซึ่งเป็นองค์ประกกอบหลักของอาหารที่ปลวกกินเข้าไป ให้เปลี่ยนเป็นพลังงาน หรือสารประกอบในรูปที่ปลวกสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตได้


เราสามารถแบ่งปลวกตามชนิดของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารได้เป็น 2 ประเภทดังนี้


1). ปลวกชั้นต่ำ ส่วนใหญ่เป็นปลวกชนิดที่กินเนื้อไม้เป็นอาหาร จะอาศัยโปรโตซัว ซึ่งอาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหาร


2). ปลวกชั้นสูง ส่วนใหญ่เป็นปลวกชนิดที่กินดิน ซากอินทรีย์วัตถุ ไลเคน รวมถึงพวกที่กินเศษไม้ ใบไม้ และเพาะเลี้ยงเชื้อราไว้เป็นอาหาร จะมี วิวัฒนาการที่สูงขึ้น เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาพนิเวศที่แห้งแล้งหรือขาดอาหารได้ดี โดยอาศัยจุลินทรีย์จำพวก bacteria หรือเชื้อราในระบบทางเดินอาหาร ทำหน้าที่สร้างเอนไซม์เพื่อช่วยย่อยอาหารให้กับปลวก ซึ่งแบคทีเรียบางชนิด จะมีความสามารถในการจับไนโตรเจนจากอากาศ มาสร้างเป็นกรดอะมิโนที่ปลวกสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตได้ และบางชนิดสามารถสร้างเอนไซม์ที่ประสิทธิภาพในการย่อยสลายสารพิษบางอย่างที่สลายตัวได้ยากในสิ่งแวดล้อม ช่วยในการผลิตเอนไซม์ออกมาย่อยอาหาร ปลวกกับจุลินทรีย์และอาหาร


ปลวกกินเนื้อไม้(cellulose) เป็นอาหารซึ่งเป็นแหล่งพลังงานชั้นดีของปลวก


ดังจะเห็นได้จากพลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกมาเมื่อเราเผาไม้ โดยการที่ปลวกสามารถย่อยสลายเนื้อไม้ก็เพราะอาศัยโปรโตซัว


ดังเช่น จีนัส Trichonympha และจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในส่วนที่เรียกว่า ileum ของลำไส้ตอนท้ายซึ่งขยายเป็นกระเปาะเล็กๆ เป็นภาวะการพึ่งพาอาศัยซึ่ง (symbiosis) ระหว่างปลวกกับโปรโตซัว โดยต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ เฉพาะปลวกงานเท่านั้นที่สามารถย่อยสลายเนื้อไม้ได้ โดยปลวกงานจะใช้อาหารข้นที่ถูกย่อยแล้วจากทางเดินอาหาร ขับออกทางปากหรือทวารหนัก


ป้อนเป็นอาหารแก่ปลวกตัวอ่อน ปลวกแม่รัง ปลวกแม่รัง และปลวกทหาร เรียกกระบวนการนี้ว่า "trophallaxis" ซึ่งก็ถือว่าเป็นการถ่ายทอดโปรโตซัวที่อยู่ภายในระบบทางเดินอาหารจากรุ่นสู่รุ่น และยังมีปลวกชั้นสูง"higher termites", ที่สามารถผลิตเอมไซม์สำหรับย่อยเนื้อไม้ได้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะปลวกในวงศ์ Termitidae แต่อย่างไรก็ตาม ในกระเพาะอาหารของปลวกวงศ์นี้ยังพบ แบคทีเรียและสิ่งที่เกิดจากการย่อยสลายในขั้นต้นอยู่ด้วย ปลวกหลายชนิดมีการทำสวนรา(fungal gardens) โดยเฉพาะราในสกุล Termitomycesไว้เป็นอาหารจากมูลก้อนเล็กๆ และเศษใบไม้นับร้อยแห่งทั่วรัง โดยเริ่มจากการที่ปลวกกินรานี้เข้าไป สปอร์ของราก็จะเข้าไปอยู่ในกระเพาะของปลวกโดยไม่ทำอันตรายใดๆกับปลวก เมื่อปลวกถ่ายออกมา เชื้อรานี้ก็จะงอกในสวนราเป็นอาหารของปลวกต่อไปนอกจากเนื้อไม้แล้วยังมีปลวกชนิดที่กินดินและอินทรีย์วัตถุต่างๆ รวมถึงไลเคนอีกด้วย


การสร้างรัง


ปลวกเป็นสัตว์สังคมที่มีความสามารถในการสร้างสถาปัตยกรรมและสัญชาตญาณในการอยู่รอดอย่างดีเยี่ยม ปลวกจะสร้างรังในซากต้นไม้ที่ติดกับพื้นดิน หรือสร้างรังบนดินที่เราเรียกกันว่า "จอมปลวก" (" Mounds") โดยใช้น้ำลายและมูลที่ผนึกดินเข้าด้วยกันทำให้โครงสร้างมีความแข็งแรงและสร้างอุโมงค์คดเคี้ยวไปมามากมาย รูปทรงต่างๆกัน ทำให้บางครั้งสามารถแยกบางชนิดได้โดยดูจากรูปทรงของจอมปลวกนี้ เช่น ปลวกบางชนิดจะสร้างรังเป็นรูปลิ่มสูง และมีแนวแกนกลางที่ยาว วางตัวในแนวเหนือใต้เสมอ พบว่ารังปลวกในแอฟริกามีความสูงถึง 9 เมตร (30 ฟุต) ซึ่งถ้าเทียบอัตราส่วนกับมนุษย์แล้วจะสูงมากกว่า 3 กิโลเมตร เป็นที่อยู่อาศัยของปลวกนับล้านตัว ปลวกสามารถสำรวจลงไปในดินลึกกว่า 20 เมตร และนำแร่โลหะขึ้นมาเป็นวัสดุในการสร้างรัง


วิธีการนี้ทำให้นักสำรวจทองคำสามารถค้นพบแหล่งที่เป็นสายแร่ทองคำได้ รังที่สร้างขึ้นนี้ได้รับความชื้นที่ปลดปล่อยมาจากดินและซากเนื้อไม้ที่กำลังถูกย่อยสลายภายในรังใต้ดิน และการมีอุโมงค์ที่คดเคี้ยวไปมา และมีโพรงสำหรับระบายอากาศให้อากาศไหลเวียนได้ตลอดเวลา


จึงทำให้รังปลวกสามารถรักษาระดับสมดุลของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ได้ และนอกจากนี้ยังมีผลทำให้อุณหภูมิคงที่ และเปลี่ยนแปลงไม่เกิน 1 องศาเซลเซียส ตลอดทั้งวัน ทำให้ปลวกสามารถมีชีวิตรอดได้แม้จะอยู่ในทะเลทรายก็ตาม


ประโยชน์และโทษของปลวก


ปลวกมีประโยชน์ในแง่ของการเป็นผู้ย่อยสลายเศษไม้ ใบไม้ ต่างๆ มูลสัตว์ กระดูก ซากสัตว์แม้กระทั่งมูลของปลวกเองและซากของตัวที่ตายแล้ว ให้ย่อยสลายกลายเป็นอินทรีย์วัตถุ สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ในแอฟริกาใช้ปลวกทหารในการรักษาแผลอักเสบ ใช้ปลวกแม่รังเป็นยาบำรุงเพศ ดินจากจอมปลวกสามารถพอกรักษากระดูก นอกจากนี้ยังสามารถรักษาคางทูม และโรคอีสุกอีไส แต่อย่างไรก็ตามปลวกจัดว่าเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญทางเศรษฐกิจอย่างสูงคาดว่าประมาณ 10 % ของปลวกที่มนุษย์รู้จักทั้งหมด ปลวกสามารถ ทำลายไม้ยืนต้น ไม้ซุง ไม้ยืนต้น ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ต่างๆ ตลอดจนเข้าทำลายโครงสร้างของอาคารบ้านเรือนที่เป็นไม้ ให้ได้รับความเสียหายอย่างมาก นอกจากนี้ยังพบว่ารังปลวกจะปล่อยก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก (greenhouse effect)


ประวัติเชิงวิวัฒนาการ


เชื่อกันว่าปลวกมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแมลงสาบและตั๊กแตนตำข้าว ถูกจัดรวมกันใน superorder Dictyoptera ปลวกเกิดในมหายุค Paleozoic โดยคาดว่ามีวิวัฒนาการจากบรรพบุรุษที่มีลักษณะคล้ายแมลงสาบ เนื่องจากปลวกและแมลงสาบมีความเหมือนกันหลายๆอย่าง เช่น พบว่าแมลงสาบบางชนิดกินไม้ผุๆ เป็นอาหาร อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยมีทุกวัยอยู่ด้วยกัน และยังมีโปรโตซัวบ้างชนิดอยู่ในทางเดินอาหารเพื่อช่วยย่อยเซลลูโลสในเยื่อไม้ โปรโตซัวที่พบในแมลงสาบชนิดนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับชนิดที่พบในปลวกโบราณ มีการค้นพบว่ามีแบคทีเรียในทางเดินอาหารของแมลงสาบในสกุล Cryptocercus มีประวัติของเผ่าพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับที่พบในปลวกมากกว่าแมลงสาบชนิดอื่นๆ อีกทั้งแมลงสาบในสกุลนี้ยังมีลักษณะทางสัณฐานวิทยาและการมีพฤติกรรมเป็นแมลงสังคมอีกด้วย

6 เรื่องเข้าใจผิด เกี่ยวกับการกำจัดปลวก!

 6 เรื่องเข้าใจผิด เกี่ยวกับการกำจัดปลวก! เชียงใหม่


1. ยาฆ่าแมลงชนิดไหนก็ฆ่าปลวกได้เหมือนกัน


ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงจะแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ


1. สารเคมีที่มีฤทธิ์กำจัดและขับไล่


2. สารเคมีที่มีฤทธิ์กำจัดแต่ไม่ขับไล่


3. เหยื่อกำจัด


เพราะในประเทศไทย ส่วนใหญ่ปลวกจะมาจากใต้ดิน โดยรังที่ขึ้นมาตามบ้านเรามักจะเป็นรังย่อยๆของมัน ดังนั้นสารที่มีฤทธิ์กำจัดและขับไล่ จะสามารถเพียงฆ่าตัวที่ฉีดโดนตาย ส่วนปลวกที่เหลือจะหนีไปทำลายที่ส่วนอื่นของบ้าน ทำให้บ้านไม่หายขาดจากปลวก ต่างกับสารที่มีฤทธิ์กำจัดแต่ไม่ขับไล่ และเหยื่อกำจัดปลวก จะทำปลวกตายโดยไม่รู้ตัว และเมื่อปลวกสัมผัสสารชนิดนี้ ปลวกจะส่งต่อพิษแก่ตัวอื่นและนางพยาญปลวกในรังตาย ทำให้สามารถกำจัดปลวกยกรังได้


2. สมุนไพรกำจัดปลวกปกป้องบ้านคุณได้เหมือนผลิตภัณฑ์กำจัดแมลง


สมุนไพรกำจัดปลวกเป็นการใช้สารสกัดจากพืช เช่น ใบยูคาลิปตัส ใบเสม็ด ใบหรือเมล็ดสะเดา ใบกะเพรา เป็นต้น สารสกัดจาก พืชนั้นอาจใช้ในส่วนของน้ํามันหอมระเหย ซึ่งจะออก ฤทธิ์เร็วแต่จะมีอายุการใช้งานสั้น และทำงานเหมือนสารขับไล่ในข้อแรก จึงยากในการนำมาใช้กำจัดปลวกได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ ที่ อย. ได้ประกาศเตือนไม่รับรองประสิทธิ์ภาพของสารชนิดนี้ในการกำจัดปลวกในที่อยู่อาศัย ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงจากการใช้ตามคำเตือน

3. กำจัดปลวกเอง diy ก็ได้ง่ายๆ


สมัยนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ใครๆ ก็สามารถเรียนรู้เองในการทำอะไรต่างๆได้ ตาม Social media เช่น Youtube, Facebook, หรือ, ดูตาม pantip แม้แต่การกำจัดปลวก


คำถามที่ควรตามมาคือ ยาฉีดปลวก อันตรายไหม? เพราะ การทำงาน และระดับความอันตราย ของสารเคมีไม่เท่ากัน ซึ่ง อย. ระบุผลิตภัณฑ์กำจัดปลวกอยู่ใน วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ซึ่งต้องมีการได้รับอนุณาต อย่างถูกต้อง ซึ่งบ่งบอกได้อีกว่าเป็นสารที่ต้องดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญ เพราะนอกจากฤทธิ์การฆ่าแมลงได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ อาจจะเกิดอันตรายต่อผู้ใช้และอยู่อาศัยหากทำไม่ถูกวิธี นอกจากนั้นก็จะสิ้นเปลืองเงินหากใช้ผิดวิธีและก็ไม่ได้ผล โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ประเภทเหยื่อกำจัดปลวกที่ราคาสูง ดังนั้นควรให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นคนดูแลให้


4. เหยื่อกำจัดปลวกฆ่าปลวก ไม่ต่างๆกับ เคมีกำจัดปลวก


เพราะเหยื่อกำจัดปลวก สามารถ ล่อให้ปลวกเข้ามากินพิษที่ผสมอยู่ในเหยื่อ ซึ่งเป็นอาหารของปลวก และจะส่งต่อพิษให้ตัวอื่นทำให้เกิดการกำจัดปลวกแบบตายยกรัง เหมือนสารไม่ขับไล่ ปลวก เมื่อถูกล่อเข้ามากินอาหารจะเป็นการลดการเข้าทำลายทรัพย์สินในทันที และไม่มีความจำเป็นต้องฉีดพ่น ทำให้ลดการปนเปื้อนเคมีไปยังแหล่งน้ำ และส่วนอื่นๆของบ้าน เป็นมิตรต่อธรรมชาติ


5. บ้านทุกหลัง หรือตึกขนาดเท่ากัน กำจัดปลวกเหมือนกันเท่ากัน


การกำจัดปลวก อาจจะสามารถประเมินคร่าวๆได้ โดยปริมาณสารเคมีตามขนาดของบ้าน เหมือนการที่คุณหมอจ่ายยา ตามน้ำหนักตัว อย่างไรก็ตามปลวกเองก็ไม่ต่างกับการรักษามะเร็ง ซึ่งการรักษาเองก็แปรผันตามอาการที่เกิดขึ้น บ้านหรือตึกบางหลังอาจจะมีการวางท่อและมีพื้นที่เสี่ยงน้อย จึงทำให้ง่ายต้องการกำจัดและป้องกันปลวก แต่บางกรณี การใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อกำจัด หรือป้องกัน ต้องอาศัยประสบการณ์ และผลิตภัณฑ์หลากหลายเพื่อกำจัดและป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางครั้งอาจจะต้องใช้เคมี บางครั้งอาจจะต้องใช้เหยื่อ บางครั้งอาจจะต้องใช้การผสมผสานอย่างถูกต้อง


ดังนั้นจำเป้นต้องปรึกษาแนวทางการกำจัดปลวกและป้องกันก่อน ในการเลือกบริการ


6. สารเคมีเกษตร ราคาถูกว่า และกำจัดปลวกในบ้านได้


อันตรายที่เกิดจากการใช้เคมีผิดประเภทในการกำจัดปลวกเป็นเรื่องที่อันตรายมาก โดยปกติฉลากผลิตภันฑ์จะบ่งชี้ว่า “สารเคมีกำจัดแมลงในบ้านเรือน”


หรือ “สารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืชในการเกษตร” โดย “สารเคมีกำจัดแมลงในบ้านเรือน” มักจะมีการบ่งชี้ว่า “ห้ามไปใช้ในทางเกษตร” หรือ “สารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืชในการเกษตร” เองก็มีการบ่งชี้ ”ห้ามใช้ในครัวเรือน”


ซึ่ง “สารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืชในการเกษตร” จะมุ่งเน้นในการฆ่าแมลงเพื่อลดการปนเปื้อนและการทำลายของแมลง หลังจากเก็บเกี่ยว โดยจะต้องมีระยะเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อให้เวลาเคมีในการสลายตัว และลดการปนเปื้อนแก่มนุษย์ ดังนั้นทำให้เมื่อนำมาใช้กำจัดปลวกภายในบ้านที่มีผู้อยู่อาศัยอยู่ตลอด จะเกิดอันตราย จากการปนเปื้อนของสารเคมีและมีฤทธฺิ์อยู่สั้นทำให้ มีประสิทธิ์ภาพการป้องกันน้อย ซึ่งต่างกับเคมีที่ เป็น "แมลงในบ้านเรือน” ซึ่งออกแบบมาเพื่อกำจัดปลวก และความปลอดภัยสูง เพราะต้องใช้ในบ้านเรือน และในขณะเดียวกันก็สามารถคงตัวอยู่ในสภาพแวดล้อมได้นานเพื่อประสิทธิ์ภาพสูงสุด ในการกำจัดปลวกและป้องกัน ดังนั้น สารเคมีเกษตร ไม่สามารถใช้การกำจัดปลวกในบ้านเรือนได้

4 เหตุผลที่ราคากำจัดปลวก ต่างกัน

 4 เหตุผลที่ราคากำจัดปลวก ต่างกัน


ปลวกขึ้นบ้านทีไร นอกจากจะกลัวว่าแก้หายบ้างไม่หายบ้าง หลายคนคงสงสัยว่า ทำไมราคากำจัดปลวกแต่ละบริษัทไม่เท่ากันเลย บ้างก็ไม่มีราคาตายตัว และแต่ละเจ้าก็ใช้วิธีที่ต่างกัน บ้างก็มีราคาตายตัว ตามพื้นที่และตารางเมตร วันนี้เรามาเรียนรู้กันว่า ปัจจัยอะไรที่มีผลต่อราคากำจัดปลวกที่แตกต่างกัน เราจะได้ทราบว่าทำอย่างไรเมื่อปลวกขึ้นบ้าน และเลือกบริษัทกำจัดปลวกที่ตรงใจ ซึ่งการกำจัดป้องกันปลวก ปัญหาปลวกเองก็เหมือนการรักษาโรคมะเร็ง ต้องวินัจฉัยให้คุณหมอตรวจ เพื่อรักษาและป้องกัน ตามผู้ป่วยแต่ละคน ดั้งนั้นมาดู 5 ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการกำจัดปลวก


1. ขนาดของพื้นที่


เพราะปลวก 90% ในประเทศไทย มาจากใต้ดิน ดังนั้นวิธีป้องกันปลวกด้วยเคมีคือการสร้างฉนวนเคมีบ้านพื้นดินไม่ให้ปลวกขึ้นมาทำลายบ้าน ดังนั้นขนาดของพื้นที่บ้านจะมีผลโดยตรงต่อปริมาณเคมีที่ใช้ ยิ่งขนาดพื้นที่ใหญ่ยิ่งต้องใช้มาก เหมือนการให้ยาตามน้ำหนักตัวผู้ป่วย ทั้งนี้ระยะเวลาและปริมาณในการกำจัดปลวกขึ้นอยู่กับคุณภาพของเคมีโดยดูได้ตามฉลากเป็นพื้นฐาน อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเนื่องจากปัจจัยพื้นที่และภูมิอากาศอาจจะมีผลเช่นกัน


2. ลักษณะของปัญหา


เพราะบ้านแต่ละหลัง เจอปัญหาต่างกัน บางบ้านไม่มีปลวกขึ้นต้องการแค่ป้องกัน ดังนั้นการใช้เคมีที่ อาจจะเพียงพอแล้ว แต่หากมีปลวกมากกว่าหนึ่งรังในบ้าน หรือมีการดื้อต่อเคมีหรือเป็นจุดที่ยากต่อเคมี จำเป็นที่ต้องใช้เหยื่อกำจัดปลวก เพื่อส่งต่อพิษไปยังนางพญาปลวกเพื่อให้ล่มสลายทั้งรัง โดยเหยื่อกำจัดปลวกจะมีราคาสูงและต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการจัดการ เหมือนการจัดการมะเร็งที่มีหลายๆวิธีขึ้นอยู่กับระยะการเติบโตของมะเร็ง ไม่ว่าการให้ยาหรือฉายรังสี ปลวกเช่นเดียวกันต้องได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญดังเช่นหมอ


3. ข้อจำกัดของพื้นที่บริการ


สารเคมีที่ผ่าน อย. รับรองอย่างถูกต้อง เพื่อให้ใช้ในการกำจัดแมลง (ไม่ใช่การเกษตร) โดยปกติจะมาค่าความปลอดภัยที่สูงมากโดยเฉพาะกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและมนุษย์ ดังนั้นเคมีที่ผ่านการรับรองจึงปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง อย่างไรก็ตามสัตว์น้ำบางชนิดเช่นกุ้งปลา มีลักษณะชีววิทยาที่ต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอาจจะมีผลโดยสารเคมีกำจัดปลวก ดังนั้นจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการสเปร์ยเคมีในบริเวณนั้นๆ หรือ ในบางกรณีที่ลูกค้ารู้สึกไม่ต้องการใช้สารเคมีในการกำจัดและป้องกัน


ในกรณีนี้ เหยื่อกำจัดแมลงเป็นทางออกที่ไม่มีการฉีดพ่นให้เกิดความเสี่ยงที่จะไปปนเปื้นในแหล่งน้ำที่มีสัตว์น้ำอาศัยได้ จำเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดและมีผลต่อราคา


4. ความเร็วในการจัดการ


เพราะความเร็วในการกำจัดปลวก ของเคมีและเหยื่อไม่เท่ากัน โดยเหยื่ออาจจะเห็นการล่มสลายของรังได้เร็วที่สุดภายใน 1 เดือน แต่เคมีหลายๆชนิดอาจจะเห็นการตายของปลวกทันทีแต่โดยมากปัญหามักจะกลับมาเพราะนางพญาที่อยู่ใต้ดินไม่ตายปลวกจึงหนีไปสร้างรังใหม่ๆ โดยเฉลี่ยในการกำจัดปลวกอย่างหายขาดจะอยู่ระหว่าง 1-8 เดือน โดยขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ที่ใช้และความรู้ของผู้ให้บริการ

กําจัดปลวกเชียงใหม่

กําจัดปลวกเชียงใหม่ กําจัดปลวกเชียงใหม่ ฉีดปลวกเชียงใหม่ กําจัดปลวกเชียงใหม่ ฉีดปลวกเชียงใหม่ เป็น บริษัทกําจัดปลวกเชียงใหม่ราคาถูก เน้นความ...